สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 14 การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ยุคก่อนกรุงสุโขทัย (4) 















                                                                                                                        โดย สันติสุข โสภณสิริ


     ในการศึกษาที่สำคัญเกี่ยวกับอารยธรรมของขอมที่เกี่ยวกับอาโรคยาศาลานั้น จากแนวความคิดและการศึกษาของศาสตราจารย์ยอร์ช
เซเดส์ ทำให้ทราบว่า คนไข้ที่เข้ารับการรักษาตัวที่อาโรคยศาลาจะเข้าพักในสถานพยาบาลซึ่งเป็นอาคารที่สร้างด้วยไม้ แต่ปัจจุบันได้ผุพัง
ไปหมดแล้ว ผู้ป่วยจะไม่พักอาศัยอยู่ในอาคารที่สร้างด้วยหินหรือศิลาแลง เนื่องจากอาคารที่สร้างด้วยหินหรือศิลาแลงนั้นจะสงวนไว้
สำหรับพระผู้เป็นเจ้า (เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ)เท่านั้น แม้แต่พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญสูงสุดก็ยังทรงประทับอยู่ในพระราช
มณเฑียรที่ทำด้วยไม้
     หลักศิลาจารึก โรงพยาบาลที่พบ ณ ปราสาทตาเมียนโตจ จังหวัดสุรินทร์ หรือปรางค์กู่ที่เมืองชัยภูมิ ปราสาทพนมวัน ที่เมืองครบุรี
และที่ด่านประคำจังหวัดนครราชสีมา (ดังปรากฏอยู่ในหอวชิรญาณ) ข้อความในจารึกได้กล่าวสรรเสริญพระเกียรติยศของพระเจ้าชัยวรมัน
ที่ได้จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนไข้ รวมถึงสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรค นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการบริหารงานในโรงพยาบาลจำนวน
๑๐๒ โรง และในพระแท่นของโรงพยาบาลต่างๆ มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ๗๙๘ องค์ จำนวนข่าวสารที่เอามาเลี้ยงคนไข้ในโรงพยา
บาลมีจำนวนปีละ ๑๑๗,๒๐๐ ขาริกา (ขาริกาเป็นมาตราส่วนที่ใช้กันในพุทธศักราช ๑๗๒๔ ณ บริเวณแหลมทอง ซึ่งมีอัตราดังนี้ ๒ ปะณะ
เป็นมาษ, ๔ ปะณะ เป็นกุฑุวะ, ๔ กุฑุวะ เป็นปรสถุ , ๑๖ ปรสถุ เป็นโทรณะ, ๔ โทรณะ เป็น ขาริกา, ๑๑ ปะละ เป็น ๑ ดุลา คือ
๑ ดุลกัฏฏีเท่ากับ ๑ ชั่ง) จำนวนชาวนาที่ทำนา เพื่อส่งข้าวให้โรงพยาบาลทั้งหญิงและชายมีอยู่ ๘๑,๖๔๐ คน และจำนวนหมู่บ้าน
ของชาวนา ๘๓๘ หมู่บ้าน
     การบริหารงานในโรงพยาบาล ประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ ดังนี้
     * ผู้ดูแล ๔ คน (เป็นแพทย์ ๒ คนโดยมีบุรุษ ๑ คน และสตรี ๑ คนเป็น ผู้ให้สถิติ)
     * ผูู้ดูแลทรัพย์ จ่ายยา รับข้าวเปลือกและฟืน ใช้บุรุษ ๒ คน
     * ผู้หุงต้ม ทำความสะอาด จ่ายน้ำ หาดอกไม้และหญ้าบูชายัญ ใช้บุรุษ ๒ คน
     * ผู้จัดพลีทาน ทำบัตร จ่ายบัตรสลากและหาฟืนเพื่อต้มยา ใช้บุรุษ ๒ คน
     * ผู้ดูแลโรงพยาบาลและส่งยาให้แก่แพทย์เป็นบุรุษ ๑๔ คน
     * ผู้โม่หรือบดยาที่สันดาปด้วยน้ำเป็นสตรี ๖ คน
     * ผู้ทำหน้าที่ตำข้าวเปลือก ๒ คน
     * ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในจารึกสุรินทร์ ๒ ระบุจำนวน ๙๘ คน ส่วนการจัดระบบด้านการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลและ
การจัดหายามาบริการ ยังไม่เพียงพอ อำนาจเหนือธรรมชาติ เวทมนตร์และความเชื่อความศรัทธาทางศาสนาจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ
ในการรักษาพยาบาลด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากการสร้างพระไภษัชยคุรุ ไวฑูรยประภา ซึ่งหมายถึงว่าเป็นครูแห่งโอสถทั้งหลาย มีรัศมีประดุจ
ดังไพฑูรย์สีน้ำเงิน เป็นที่เคารพแห่งมนุษย์ทั้งหลายในสมัยนั้น มีอานุภาพในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ มักทำเป็น รูปพระพุทธรูปทรงเครื่อง
ปางนาคปรก แม้ว่าบางรูปจะไม่ปรากฏพังพานนาคแต่ยังคงมีขนดหางนาค แตกต่างจากพระพุทธรูปปางนาคปรกก็คือ ภายในพระหัตถ์ที่
ประสานกัน เหนือเพลามีวัตถุรูปกรวยอยู่ภายใน วัตถุนี้สันนิษฐานไว้ต่างๆ กัน เช่น
     * อาจเป็นยาหรือดอกไม์หรือวัชระ
     * น่าจะเป็นผลสมอซึ่งเป็นสมุนไพรที่ใช้ทำยารักษาโรคภัยต่างๆ และหากคิดวาาเป็นหม้อน้ำมนต์ก็น่าจะหมายถึงภาชนะหรือผอบใส่
โอสถไว้สำหรับรักษาผู้เจ็บป่วยนั่นเอง เชื่อกันว่าการสร้างพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาไว้ประจำ โรงพยาบาลก็เพื่อให้บารมของพระองค์
แผ่เมตตาต่อคนไข้ในอาโรคยศาลา จนไม่อาจกล่าวได้ว่าระหว่างการรักษาพยาบาลและศรัทธานั้น ส่วนไหนจะสำคัญมากกว่ากัน แต่สิ่ง
ที่น่าสนใจ คือ ครูผู้รักษาจะต้องมีคุณธรรม ซึ่งในปัจจุบันแนวความคิดนี้ยังคงมีอยู่ อาจสรุปได้ว่า องค์ประกอบในการรักษาจะประกอบด้วย
ยาหรือสมุนไพร ด้วยศรัทธาและความเคารพนับถือในคุณธรรม ของครู และด้วยบารมีของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา

   
  

(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )

(ต่อตอนที่ 15 การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ยุคก่อนกรุงสุโขทัย (5) )