สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243 Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com
แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.
พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 20 การแพทย์ดั้งเดิมของไทย ในยุคกรุงศรีอยุธยา (ตอน 3)
โดย สันติสุข โสภณสิริ
สมัยพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒)
ฝรั่งชาติแรกคือ โปรตุเกส เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นปึกแผ่นในกรุงศรีอยุธยาหลายร้อยคน เชื่อว่าคงจะมีแพทย์์มาด้วยกล่าวกัน
ว่า ตำรับยาของแพทย์โปรตุเกสที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันคือ ตำรับยาขี้ผึ้งใส่บาดแผลบางชนิด
สมัยพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. ๒๐๗๗-๒๐๘๙)
ทรงพระราชทานที่ดินเป็นบำเหน็จความดีความชอบแก่ชาวโปรตุเกสจำนวน ๑๒๐ คน ที่ได้เข้าร่วมรบในสงครามเมืองเชียง
กรานจนได้รับชัยชนะ จึงทรงให้สร้างนิคม เฉพาะพร้อมสร้างโบสถ์ให้ด้วยเชื่อว่าคงจะต้องมีแพทย์หรือผู้มีความรู้ทางการแพทย์
เข้ามาด้วย ดังนั้น น่าจะเป็นความจริงว่า ชาวโปรตุเกสเป็นพวกแรกที่นำเอาการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาในไทย
ชาวโปรตุเกสได้นำศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแพร่แก่ชาวไทย และเข้าใจว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้
ทำการเผยแพร่ได้โดยสะดวก แต่เนื่องจากความเข้าใจในเรื่องภาษายังมีไม่พอ ทำให้การเผยแพร่ไม่ค่อยได้ผล
(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )
(ต่อตอนที่ 21 การแพทย์ดั้งเดิมของไทยในยุคกรุงศรีอยุธยา (ตอน4)