สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 21 การแพทย์ดั้งเดิมของไทย ในยุคกรุงศรีอยุธยา (ตอน 4)

















      

                                                                                                                     โดย สันติสุข โสภณสิริ





สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑)
          พ่อค้าชาวโปรตุเกสได้นำการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรกและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.ศ. ๒๒๐๕
เริ่มมีการติดต่อกับฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ โดยมองสิเออร์ ลังแบรต์ เดอลามอตต์ พร้อมด้วยคณะมิซซัง ผู้ช่วยสองคน เข้ามา ทางเมืองตะนาวศรีซึ่งสมัยนั้นเป็นเขตขัณฑสีมาของไทย  ปรากฏหลักฐานว่าฝรั่งเศสได้ตั้งโรงพยาบาลขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา(ยังสืบไม่ได้ว่า
ตั้งอยู่ ณ ที่ใด และไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นโรงพยาบาลเดียวกับโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา) ตามที่ปรากฏในรายงานของ
มิสซิย้องฟรังเซส พ.ศ. ๒๒๒๒ ว่าโรงพยาบาลอยุธยามีคนไข้ ประจำ ๕๐-๙๐ คน และคนไข้ไปมาวันละ ๒๐๐-๓๐๐ คน


          การแพท์ย์แผนตะวันตก จึงเป็นการแพทย์ทางเลือกที่เป็นคู่แข่งสำคัญของการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นการแพทย์กระแสหลัก
ในยุคนั้น โดยที่ก่อนหน้านั้นการแพทย์แผนจีนเป็นการแพทย์ทางเลือกในสังคมไทยมาตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย

          โรงพยาบาลฝรั่งในขณะนั้นจึงได้อาศัยใช้เป็นที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ปวงชน ชาวไทยทั้งหลายการนี้อาจมีผลผลักดัน ให้เกิด
ความรู้สึกว่าการแพทย์แผนไทยกำลังถูกท้าทาย บรรดาหมอหลวงจึงได้ร่วมกันรวบรวมตำรับยาต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์
การแพทย์ไทย เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์ แพทย์ฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามารับใช้ในราชสำนักและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
ได้ประกอบพระโอสถถวาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้มีโอกาสบันทึกตำรับยาที่นำมาจากยุโรปในตำรา พระโอสถพระรารายณ์
นี้ด้วย ซึ่งตำราเหล่านี้ยังตกทอดมาถึงทุกวันนี้ ตำราพระโอสถพระนารายณ์นี้ ค้นพบในสมัยรัตนโกสินทร์ มีตำราพระโอสถหลายขนาน
ที่ปรากฏชื่อ หมอหลวงและวันคืนที่ตั้งพระโอสถนั้นจดไว้ช้ดเจนว่าอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๐๒-๒๒๐๔ ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
มหาราช


(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )

(ต่อตอนที่ 22 การแพทย์ดั้งเดิมของไทยในยุคกรุงศรีอยุธยา (ตอน5)
         


   
  







ขอบคุณภาพ www.pharm.su.ac.th