ตอนที่ ๓๕ การแพทย์แผนไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๓ (ตอน ๖)
โดย สันติสุข โสภณสิริ
สมัยรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)
ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ที่รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ จารึกวัดโพธิ์
แบ่งเป็น ๔ หมวดใหญ่ๆ หากกล่าวเฉพาะ ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนไทยที่จารึกไว้ในวัดพระเชตุพนฯ จำแนกได้ดังนี้
การจารึกตำรายาบนแผ่นศิลานี้มิใช่มีแต่ที่วัดพระเชตุพนฯ เท่านั้น แต่ยังมีการจารึกตำรายาไว้ในลักษณะเดียวกันนี้ที่วัดราชโอรสด้วย
แต่มีจำนวนน้อยกว่า เพราะจารึกตำรายาของวัดราชโอรสนั้นทำขึ้นตั้งแต่สมัยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้า
ลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์์ (พ.ศ. ๒๓๖๔) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนพระทัยในด้านการแพทย์ของพระองค์ที่ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้จารึกตำรายาไทยบนแผ่นหินอ่อนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๓๐ เซนติเมตร ในแผ่นศิลาที่มีทั้งรูปกลมและรูปไข่ ประดับบนกำแพงพระ
วิหารพุทธไสยาสน์ และที่ศาลารายเล็กปลูกติดกับกำแพงแก้วหน้าพระอุโบสถมีตำรายาต่างๆ ร่วมร้อยขนานเพื่อวิทยาทานแก่พสกนิกร
ที่จะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาและเป็นการอนุรักษ์ตำรายาไทยมิให้สูญสิ้นไป บุคคลที่มีความสำคัญต่อการแพทย์แผนไทย คือ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงเข้ารับราชการกำกับกรมหมอ ในรัชกาลที่ ๓ และทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรม
หมื่นวงษาสนิท ทรงแต่งตำราสรรพคุณยาสมุนไพรไทย จำนวน ๑๑๖ ชนิด ซึ่งเป็นตำราสมุนไพรเล่มแรกของไทย ที่เขียนแบบเอกสาร
ทางวิชาการ แจกแจงและวิเคราะห์ส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด ทรงเป็นแพทย์ไทยพระองค์แรกที่ได้รับ ประกาศนียบัตรถวาย
เป็นพระเกียรติ จากสถาบันการแพทย์ของยุโรปและได้รับเชิญให้เป็นสมาชิกของสถาบันการแพทย์แห่งนิวยอร์ก อีกทั้งยังทรงจารึกคำ
ประพันธ์ บรรยายถึงการบำบัดโรคด้วยสมุนไพรและการออกกำลังกายที่เรียกว่า ฤๅษีดัดตน ๒ ท่า ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือ
วัดโพธิ์
ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในวาระครบรอบ ๒๐๐ ปี วันคล้ายวันประสูติ ในสาขาปราชญ์์และกวี
(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )
(ต่อตอนที่ ๓๗ การแพทย์แผนไทย ใน สมัยรัชกาลที่ ๔ (ตอนที่ ๑) )