สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 7  สาระสำคัญจากศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช 


                                                                                      โดย สันติสุข โสภณสิริ

   ศิลาจารึก หลักที่ ๒ ของพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พ.ศ. ๒๗๔-๓๑๒)ประกาศว่ามีการให้การรักษาพยาบาล
แก่มนุษย์และสัตว์ ทั่วทุกหนทุกแห่งในราชอาณาจักร ที่ใดที่ไม่มียาสมุนไพร รากไม้และผลไม้ ก็ให้นำเข้าและ
เพาะปลูกขึ้นมา ให้ทำการขุดบ่อน้ำ และปลูกต้นสมุนไพรตามทางเดิน ศิลาจารึกนี้ได้แสดงให้เห็นว่าบทบาทของ
หมอพระในการขยายความช่วยเหลือทางการแพทย์ไปสู่ฆราวาสนั้น เกิดขึ้นพร้อมกับการแผ่ขยายของพุทธศาสนา
ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช การขยายตัวของพุทธศาสนาและวัดวาอารามจากปาฏลีบุตร นครหลวงของ
แคว้นมคธ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย โดยทั่วไปจะอยู่ตามรายเส้นทางการค้า ในเวลานั้น
พุทธอารามได้รับการประดิษฐานใกล้กับแหล่งการค้าขาย โดยได้รับปัจจัยส่วนใหญ่จากพ่อค้าที่ร่ำรวย  ซึ่งพบว่า
วัดเป็นสถานพักฟื้นของผู้ป่วยและเป็นสถานที่พักผ่อนฟื้นฟูสุขภาพให้หายจากความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าระหว่าง
การเดินทางอันยาวไกล เพื่อข้ามผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล

    บทบาทของพุทธอารามจึงมิใช่เป็นสถานปฏิบัติธรรมและเผยแพร่คำสอนเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นศูนย์ให้
บริการทางการแพทย์ และเครื่องอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เดินทางได้พักผ่อนและพักรักษาตัว ปรากฏว่า
บทบาทดังกล่าวของพุทธอารามประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากคณะสงฆ์และการประดิษฐานอาราม
มีการเติบโตและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในอินเดียและนอกถิ่นอินเดีย
    


(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )

(ต่อตอนที่ 8 สมณฑูตและการเดินทางของแพทย์สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช )



ขอบคุณภาพ www.wikiwand.com