สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 15 การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ยุคก่อนกรุงสุโขทัย (5) 















                                                                                                                        โดย สันติสุข โสภณสิริ


   ในอดีตจนถึงปัจจุบัน การรักษาพยาบาลและศรัทธานั้นมีความสำคัญพอๆกัน อาจสรุปได้ว่าการแพทย์ดั้งเดิมของไทย มีองค์
ประกอบในการรักษาจะประกอบด้วย ยาหรือสมุนไพร ด้วยศรัทธาและความเคารพนับถือในคุณธรรมของครู และด้วยบารมีของ
พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา
   ดังนั้นหลักฐานเกี่ยวกับ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาที่ประดิษฐานในอาโรคยศาลา มีปรากฏในศิลาจารึกปราสาทของพระเจ้า
ชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งพบในจังหวัดสุรินทร์ ดังนี้
   "โรคทางร่างกายของปวงชนนี้เป็นโรคทางจิตที่เจ็บปวดยิ่ง เพราะความทุกข์ของราษฎร แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็น
ความทุกข์ของเจ้าเมือง พระองค์พร้อมด้วย แพทย์ทั้งหลาย ผู้แกล้วกล้าและคงแก่เรียนในอายุรเวทและอัสตรเวท ได้ฆ่าศัตรู คือ
โรคของประชาชนด้วยอาวุธคือเภษัช เมื่อพระองค์ได้ชำระโทษของประชาชนทั้งปวง โดยรอบแล้วได้ชำระโทษแห่งโรคทั้งหลาย
พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคตพร้อมด้วยรูปพระชิโนรสทั้งสองโดยรอบเพื่อความสงบแห่งโรคของ
ประชาชนต่อไป พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาลหลังนี้ และพระรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยวิหารของพระสุคต ด้วยดวง
จันทร์ คือ พระหฤทัยในท้องฟ้า คือ พระวรกาย อันละเอียดอ่อน พระองค์ได้สร้างรูปจำลองของพระไวโรจนชินเจ้าที่ขึ้น ต้นด้วย
สุริยะและจันทระอันงดงามนี้ ให้เป็นผู้ทำลายโรคแห่งประชาชน ผู้มีโรคทั้งหลายในที่นี้"
    อย่างไรก็ตาม ในศิลาจารึกไม่ได้กล่าวว่า ในโรงพยาบาล ๑๐๒ โรงนั้นได้รับยารักษาโรคและสิ่งของต่างๆ มาจากไหน กล่าวแต่
เพียงบัญชีเครื่องยาและสิ่งของในปีหนึ่งๆ เท่านั้น  แต่เข้าใจว่าได้มาจากการชำระภาษีของประชาชน ส่วนสิ่งของที่หายาก ไม่มี
ในท้องที่ จะจัดส่งมาจากท้องพระคลังในเมืองหลวงโดยตรง ดังจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ หลายแห่งได้กล่าวถึง การแต่งตั้ง
ผู้ปกครองและจัดเก็บภาษีในแต่ละท้องที่ โดยภาษีที่ต้องชำระในสมัยก่อนส่วนใหญ่จะชำระเป็นสิ่งของประเภท ทรัพยากรตาม
ธรรมชาติและผลิตผลตามธรรมชาติที่ไดจากป่า อาโรคยศาลาใน้แต่ละวันเฉพาะที่ได้รับจากท้องพระคลังของกษัตริย์ โดยจะส่งมา
ปีละ ๓ ครั้ง คือ วันเพ็ญเดือน ๕ วันสารทและวันที่พระอาทิตย์เบนไปทางทิศใต้ มีหลายชนิด เช่น สมอ ๕๐ ผล ขมิ้น ๒ หัว น้ำผึ้ง
๓ กุฑุวะ น้ำอ้อยเหลว ๓ กุฑุวะ น้ำส้ม น้ำพุทรา ๑ ปรสถะ รกฟ้าขาว ๑ ปะละกันทง หัวลาย ชันสยง เปลือกเทพธาโร ของทั้งสี่สิ่ง
สิ่งละ ๑ ปะละครึ่ง เป็นต้น
   นอกจากนั้น จารึกโรงพยาบาลได้กล่าวถึงชื่อพืชและผลิตผลของพืชผลหลายชนิด ซึ่งอาจใช้ในการรักษา ได้แก่ ผลตำลึง กฤษณา
ข้าวบาร์เลย์ ดีปลี บุนนาค ผลจันทน์เทศ ผลกระวาน เล็ก ขิงแห้ง พริกไทย ผักทอดยอด อบเชย หญ้ากระด้าง กระเทียม พริกขี้หนู
พุทรา ข้าวสาร ถั่ว การบูร เมล็ดธานี ถั่วฝักยาว ยางสน มิตรเทวะ ทารวเฉท ดอกไม้ เป็นต้น สมุนไพรเหล่านี้นำมาเพื่อบูชายัญ และ
ส่วนที่เหลือจะบริจาคให้คนไข้ ชื่อสมุนไพรที่ปรากฏในจารึกคงไม่ใช่สมุนไพรทั้งหมดที่ใช้ในอาโรคยศาลา ส่วนหนึ่งของสมุนไพรคงได้
จากการเก็บหาดังปรากฏในจารึกที่ว่า ผู้มอบ...บุรุษคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลทรัพย์... เป็นผู้หา ข้าวเปลือกยาและฟืน แสดงให้เห็นว่านอกจาก
เบิกจากท้องพระคลังแล้ว ยาส่วนหนึ่งยังต้องเก็บหามาใช้ จึงไม่สามารถบอกได้ว่า อาโรคยศาลาในอดีตใช้สมุนไพรใดรักษาโรคให้คนไข้ เนื่องจากข้อมูลที่กล่าวไว้ในจารึกจะเป็นเครื่องบูชาเป็นส่วนใหญ่ รายชื่อสมุนไพรที่ ปรากฏอยู่เป็นสมุนไพรเฉพาะที่กษัตริย์พระราชทาน
ให้ประชาชน

   
  

(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )

(ต่อตอนที่ 16 การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ยุคก่อนกรุงสุโขทัย (6) )