สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 16 การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ยุคก่อนกรุงสุโขทัย (6) 















        

                                                                                                                     โดย สันติสุข โสภณสิริ


            สมุนไพรใดที่หายากต้องสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ หรือเป็นสมุนไพรที่มีเฉพาะ ฤดูกาลจึงต้องเก็บไว้ในท้องพระคลัง
เมื่อจำเป็นต้องใช้สมุนไพรที่ไม่อาจเก็บหาได้ง่ายจะเบิกจากท้องพระคลัง ซึ่งจะเห็นได้ว่าสมุนไพรที่ปรากฏอยู่ในจารึกเป็นสมุน
ไพรที่นิยมใช้กันทั่วโลก ในสมัยนั้นและบางชนิดเป็นของต่างประเทศ เช่น จันทน์เทศ (Nutmeg) ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองแถบเกาะ
โมลุคกะ ใช้เป็นยากระตุ้นหรือยาขับลม สมุนไพรบางชนิดเป็นเครื่องเทศที่ใช้ประกอบอาหารได้ทั่วไปไม่ต้องเก็บไว้ในท้องพระ
คลัง จึงไม่มีชื่อระบุไว้ในจารึกทำให้ไม่สามารถรู้ว่าสมุนไพรทุกชนิดที่ใช้ในอาโรคยศาลามีอะไรบ้าง แต่จากศิลาจารึกที่ปราสาท
พระขรรค์ไชยศรีบทที่ ๑๒๓ ทำให้เข้าใจว่าน่าจะมการผสมผสาน ในเรื่องการใช้ยาสมุนไพรจากประสบการณ์ของบรรพบุรุษในแต่
ละท้องถิ่น และลักษณะการแพทย์แบบนี้จะไม่ถ่ายทอดกันอย่างเปิดเผยเป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากตำรายา มักเป็นที่หวง
แหนไม่ถ่ายทอดกันง่าย หากไม่ได้ทำพิธีเรียนต่อครูย่อมถือว่าผิดครู
            ถึงแม้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จะได้ทรงลงท้ายคำขวัญในการสร้างโรงพยาบาล เมื่อพุทธศักราช ๑๗๒๙ มีว่า "โอ้ท่าน
ทั้งหลายซึ่งจะเป็นตัวแทนข้าพเจ้าในวันหน้า ขอให้จารึกไว้ในใจว่าการทำบุญกุศลทั้งสิ้นซึ่งข้าพเจ้าได้อุตส่าห์ทำมาจนบัดนี้นั้น
ขอท่านอย่าได้ละทิ้งเฉยเสียเป็นอันขาด จงตั้งใจอุตส่าห์ดูแลปกปักรักษาไว้ให้ดี ด้วยว่าการกุศลต่างๆ เหล่านั้นก็จะได้แก่ตัวท่าน
เหมือนกัน ดังมีท่านนักปราชญ์ที่ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดก็ดีที่อุตส่าห์ดูแลรักษาการบุญกุศลเหล่านี้ก็จะได้รับกุศลส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งจาก
ผู้ซึ่งได้ทำไว้แต่แรกมา" แต่เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว (พ.ศ. ๑๗๖๒ พระชนมายุได้ ๙๔ พรรษา)
            อาณาจักรขอมก็เริ่มเสื่อมลงไปพร้อมกับที่ไทยเรืองอำนาจขึ้น กษัตริย์องค์ต่อมานับถือศาสนาพราหมณ์มความเห็นไม่
ลงรอยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ อาโรคยศาลาจึงขาดคน ทำนุบำรุง ค่อยๆ ทรุดโทรมลงและล้มเลิกไป อาคารส่วนที่เป็นไม้ก็ผุพัง
เหลือเพียง ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่เป็นหินหรือศิลาแลงปรากฏให้เห็นอย่างเช่นทุกวันนี้
            การที่อาโรคยศาลาหรือโรงพยาบาลซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้ทรงสร้างไว้ถึง ๑๐๒ แห่งไม่ปรากฏหรือมีผู้สืบสานต่อ
ให้เห็นหลงเหลือเป็นโรงพยาบาล สันนิษฐานว่าเป็นผลเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา เพราะในครั้งนั้นนอกเหนือจากพระเจ้าชัย
วรมันที่ ๗ ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน กษัตริย์พระองค์อื่นที่ปกครองอาณาจักรขอมเท่าที่ปรากฏล้วนนับถือ
ศาสนาพราหมณ์ เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สิ้นอำนาจลง จึงมีผู้พยายามที่จะล้มล้างทำลายหรือไม่สนับสนุนสิ่งที่พระเจ้าชัยวรมัน
สร้างขึ้น เป็นเหตุให้ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานต้องหลบหาสถานที่ปฏิบัติกิจทางศาสนาใหม่ ในขณะเดียวกันอาโรคย
ศาลา เมื่อขาดคนทำนุบำรุงจึงต้องล้มเลิกไปในที่สุด
   
  

(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )

(ต่อตอนที่ 17 การแพทย์ดั้งเดิมของไทยในยุคกรุงสุโขทัย )






ขอบคุณภาพ http://52011120009.blogspot.com/2012/05/blog-post_20.html