สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 17 การแพทย์ดั้งเดิมของไทย ยุคกรุงสุโขทัย 















 





      

                                                                                                                     โดย สันติสุข โสภณสิริ


            ยุคกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๖๓-๑๙๘๑)
            จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับระบบการแพทย์ในสมัยนี้เลย แต่เชื่อว่าต้องมีระบบการแพทย์
ที่มีการใช้ยาสมุนไพร โดยนำมาต้มหรือพอกหรือบดให้ละเอียดเพื่อรับประทาน เพราะมีการค้นพบหินบดยาสมัยทวารวดี ซึ่งเป็น
ยุคก่อนสุโขทัย ดังนั้นในยุคสุโขทัยก็คงมีการบดยาใช้เช่นเดียวกัน รวมถึงรูปจารึกที่เกี่ยวกับการนวดซึ่งพบอยู่ในเขตอำเภอคีรีมาศ
จังหวัดสุโขทัย
            ในยุคนั้นมีความเชื่อว่า ความเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของภูตผีปีศาจ จึงมีพิธีแสดงความนบนอบดังข้อความตอนหนึ่งใน
หนังสือไตรภูมิพระร่วงของพระยาลิไทว่า "ผิแลว่าผู้ใดไปไหว้นบคำรพบูชาแก่กงจักรแก้วนั้นด้วยข้าวตอกดอกไม้ แลกงจักร นั้นเฑียรย่อมบำบัดเสียซึ่งความไข้เจ็บ" นอกจากนี้ในบริเวณเมืองเก่าสุโขทัยและที่เตาเผาชามพบตุ๊กตาเสียกบาลเป็นจำนวนมาก
เป็นตุ๊กตาแบบแม่อุ้มลูก พ่ออุ้มลูก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในสมัยสุโขทัยคงจะมีปัญหาเรื่องโรคเด็กและการคลอดบุตรแล้วลูกตายหรือตาย
ทั้งแม่และลูก เพราะพิธีเสียกบาลเป็นพิธีที่ทำขึ้นเมื่อเด็กแรกเกิดไม่สบายโดยเชื่อว่า เป็นการกระทำของผี ความเชื่อและพิธีกรรมที่
เกี่ยวข้องกับการกระทำของผีดังกล่าวเป็นพื้นฐานของการแพทย์พื้นบ้านที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมทางพุทธศาสนา
            อย่างไรก็ตามในยุคกรุงสุโขทัย ก็ยังมีหลักฐานเกี่ยวกับชื่อของโรคภัยไข้เจ็บในสมัยนั้น ดังมีข้อความตอนหนึ่งในไตรภูมิ
พระร่วงว่า
            "หิดและเรื้อน เกลื้อน และหูด แลเปา เป็นต่อม เป็นเตา เป็นง่อย เป็นเพลีย ตาฟู หูหนวก เป็นกระจอกงอกง่อย เมื่อยเนื้อ
เมื่อยตัว เมื่อยตน ท้องขึ้น ท้องพอง ท้องไส้ ปวดหัว มัวตา ไข่เจ็บ เหน็ดเหนื่อย วิการดังนี้ ไซร้ บห่อนจะบังเกิดแก่ชาวอุตรกุกุกสัก
คาบหนึ่งเลย"


(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )
(ต่อตอนที่ 18 การแพทย์ดั้งเดิมของไทยในยุคกรุงสุโขทัย)