ตอนที่ 18 การแพทย์ดั้งเดิมของไทย ยุคกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.๑๘๙๓-๒๓๑๐)
โดย สันติสุข โสภณสิริ
ยุคกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐)
การแพทย์แผนไทยในประเทศไทยเท่าที่เริ่มมีเอกสารพอจะค้นคว้าได้อย่างเป็นหลักเป็นฐานคือ ในยุคกรุงศรีอยุธยา ส่วนในยุคกรุงสุโขทัยหรือก่อนหน้านั้นไม่มีหลักฐานที่แน่นอน มีแต่เพียงข้อสันนิษฐานจากหลักฐานแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ ในยุคกรุงศรีอยุธยามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงการแพทย์แผนไทยไว้ บางรัชกาล ซึ่งจะได้กล่าวตามลำดับต่อไปนี้
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑)
เรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยยุคกรุงศรีอยุธยามีหลักฐานปรากฏเป็นครั้งแรกในทำเนียบศักดินาข้าราชการฝ่ายพลเรือน
(พระไอยการ ตำแหน่งนาพลเรือน) ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งตราขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๙๘ ซึ่งใช้สืบมาจนกระทั่งยุคต้นกรุง
รัตนโกสินทร์ กล่าวคือ มีข้าราชการในกรมแพทยา กรมแพทยาโรงพระโอสถ กรมหมอยา กรมหมอนวด กรมหมอยาตา กรมหมอวรรณโรค
ดังขอแสดงให้เห็น ได้แก่
๑. กรมแพทยา
พระศรีมโหสถราชแพทยาธิบดีศรีองครักษ์ เจ้ากรมแพทยาหน้า นา ๑๖๐๐
ขุนราชแพทยา ปลัดทูลฉลอง นา ๖๐๐
ขุนพรหมกวี ปลัดนั่งศาล นา ๔๐๐
พระศรีศักราชแพทยาธิบดีศรีองครักษ์ เจ้ากรมแพทยาหลัง นา ๑๖๐๐
ขุนรัตะแพทย์ ปลัดทูลฉลอง นา ๖๐๐
ขุนศรีกวี ปลัดนั่งศาล นา ๔๐๐
พันในกรม นาคละ ๑๐๐
๒. กรมแพทยาโรงพระโอสถ
ออกญาแพทยาพงษาวิสุทธาธิบดีอะไภยพิรียบรากรมภาหุ
จางวางแพทยาโรงพระโอสถ นา ๒๐๐๐
๓. กรมหมอยา
ออกพระทิพจักร เจ้ากรมหมอยาขวา นา ๑๔๐๐
ออกพระสิทธิสาร เจ้ากรมหมอยาซ้าย นา ๑๔๐๐
หลวงราชนิทาน ปลัดทิพจักรขวา นาคละ ๘๐๐
หลวงราชพรหมา ปลัดทิพจักรซ้าย นาคละ ๘๐๐
หลวงสิทธิพรหมา ปลัดสิทธิสารขวา นาคละ ๘๐๐
หลวงเทวพรหมา ปลัดสิทธิสารซ้าย นาคละ ๘๐๐
ขุนในกรมหมอยา นาคละ ๔๐๐
หมื่นในกรมหมอยา นาคละ ๒๐๐
พันในกรมหมอยา นาคละ ๑๐๐
ขุนทิพโอสถ ขุนประเสริฐโอสถ พนักงานเครื่องต้น นาคละ ๖๐๐
หมื่นทิพโอสถ หมื่นเทพโอสถ หัวหมื่นเครื่องต้น นาคละ ๔๐๐
พันพนักงานเครื่องต้น นาคละ ๓๐๐
(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )
(ต่อตอนที่ 19 การแพทย์ดั้งเดิมของไทยในยุคกรุงศรีอยุธยา (ตอน2)