ตอนที่ 24 การแพทย์ดั้งเดิมของไทย ในยุคกรุงศรีอยุธยา (ตอนจบ)
โดย สันติสุข โสภณสิริ
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑)
มองสิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในกรุงสยามระหว่าง พ.ศ. ๒๒๓๐-
๒๒๓๑ ลาลูแบร์ ได้เขียนจดหมายเหตุพระราชพงศาวดารสยามครั้งกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าววิจารณ์
การแพทย์แผนไทยในสมัยอยุธยา
กล่าวโดยสรุปลาลูแบร์ ได้ให้ภาพของโรคภัยไข้เจ็บ และวิธีการรักษาในสมัยนั้นไว้ว่า "เรื่องโรคาพาธของชาวสยามในกรุงศรีอยุธยา
มีตั้งแต่โรคป่วง โรคบิด ไข้ กำเดา ไข้หวัด ไข้จับสั่น โรคพิษบาดทะยัก โรคจับลม โรคอัมพาต โรคคุดทะราด เข้าข้อฝีต่างๆ เป็นปรวด
พิษ แผลเปื่ออยพัง โรคโลหิตไหลทางเหงือกไม่ค่อยพบ บทที่ ๑ ประวัติศาสตร์การพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือกในประเทศไทย ๒๗ โรคขี้เรื้อนกุดถังไม่ค่อยเห็น แต่คนเสียจริตมีชุมการถูกกระทำยำเยียเชิงกฤติคุณ ความ
ประพฤติลามก พาให้เกิดกามโรคในกรุงสยามก็ดกไม่หยอก อนึ่งในกรุงสยามก็มีโรคติดต่อกัน แต่หาใช่ห่ากาฬโรคอย่างทวีปยุโรปไม่
ตัวโรคห่าของกรุงสยามก็คือ ไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค..." อีกตอนหนึ่งว่า "หมอสยามไม่เข้าใจเครื่องในในร่างกาย และไม่รู้จักผ่าตัด.."
และ "หมอสยามมียาแต่ตามตำรา หมอสยามไม่พึงพยายาม ทราบยาอย่างไหนบำบัดโรคได้ หลับตาถือแต่ตำรับที่ได้เรียนมาจากบิดา
มารดา และครูบาอาจารย์ และในตำรานั้น หมอชั้นใหม่ก็คงดื้อใช้ไม่แก้ไขอย่างใด หมอสยามไม่พะวักพะวงตรวจสมุห์ฐานโรคว่าอะไร
เป็นตัวสำคัญที่ส่อให้เกิดโรค วางยา ไปตามตำราตามบุญตามกรรม แม้กระนั้นก็ยังไม่วายที่จะรักษาให้หายได้มาก หมอสยามเว้นที่จะ
โทษว่าเป็นเพราะถูกคุณกระทำยำเยียหรือฤทธิ์ผีสาง"
ลาลูแบร์กล่าวถึงหมอนวดว่า "ชอบขยำบีบไปทั่วตัว เมื่อใครป่วยไข้ลงใน กรุงสยาม บางทีก็ขึ้นเดินเอาเท้าเหยียบบนกายคนไข้
แม้ในสตรีก็พอใจให้เด็กเหยียบที่หลังเพื่อให้คลอดบุตรง่าย"
ลาลูแบร์ยังกล่าวถึง "อาหารของคนไข้ว่า คนไข้สยามมักบำรุงตัวชั่วข้าวต้ม อย่างเดียวเท่านั้น เนื้อสัตว์ แม้แต่ซุบถือเป็นของแสลง
เมื่อคนไข้ทุเลา พอจะกิน อาหารแข็งๆได้บ้างก็ให้กินแต่เนื้อหมู ถือว่าไม่สู้แสลงดีกว่าเนื้อสัตว์อย่างอื่นหมด"
ลาลูแบร์กล่าวถึงประเภทหมอสยามว่า เมื่อลาลูแบร์ป่วย "สมเด็จพระมหากษัตริย์สยามโปรดพระราชทานให้หมอหลวงทั้งกรมมา
ตรวจรักษา มีหมอสยาม หมอรามัญและจีนแส ผลัดกันทยอยมาตรวจชีพจรอยู่ช้านาน แล้วลงเนื้อเห็นว่าเป็นไข้กำเดาเล็กน้อยและ
ท้องเสีย...."
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจน สำหรับราษฎรโดยมีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพร
หลายแห่งทั้งในและนอกกำแพงเมือง ในส่วนราชการและราชสำนักมีโรงพระโอสถอยู่ในพระราชวังด้วย
แต่เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน พ.ศ. ๒๒๓๑ เกิดการผันผวน ทางการเมืองจากการกระทำของขุนหลวงสรศักดิ์ และสมเด็จพระเพทราชาซึ่งขึ้นครองราชสมบัติแทน ชาวฝรั่งเศสถูกขับไล่ออกจากกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากทรงไม่ไว้วางใจ พวกฝรั่งเศส ทำให้การแพทย์แผนตะวันตกเสื่อมสูญไปด้วย
ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม กล่าวไว้ว่าปลายสมัยอยุธยา บนตัวเกาะกรุงศรีอยุธยามีร้านขายเครื่องสมุนไพรให้แก่ชาว
บ้านทั่วไป โดยระบุว่าที่ถนนป่ายามีร้านขายเครื่องเทศ เครื่องไทยครบสรรพคุณยาทุกสิ่ง ชื่อตลาดป่ายา "และยังได้กล่าวถึงโรงทำยา
หลวงซึ่งเรียกว่าโรงพระโอสถ ไม่น้อยกว่า ๒ โรงว่านอกประตูไพชยนต์นี้ มีโรงพระโอสถ ๑ และมีโรงพระโอสถตั้งอยู่หน้าสวนองุ่น"
(สวนองุ่นตั้งอยู่ท้ายสระใหญ่ อันเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาศน์) โรงพระโอสถหลวง นี้นอกจากจะปรุงยาใช้ในพระราชวังแล้ว
ยังเตรียมยา สำหรับใช้ในกองทัพเมื่อออกไปทำสงครามด้วย
จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้น สามารถให้ภาพของระบบการแพทย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เป็นอย่างดีว่า ส่วนใหญ่คนไทยนิยม
การรักษาแบบการแพทย์แผนไทย มีร้านขายเครื่องสมุนไพรทั้งไทยและจีนอยู่ทั้งภายในและภายนอกกำแพงพระนคร
(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )
(ต่อตอนที่ 25 การแพทย์ดั้งเดิมของไทยในยุคกรุงธนบุรี)