สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 25 การแพทย์ดั้งเดิมของไทยในยุคกรุงธนบุรี

















      

                                                                                                                     โดย สันติสุข โสภณสิริ


ยุคกรุงธนบุรี (พ.ศ. ๒๓๑๑-๒๓๒๕)

     พ.ศ. ๒๓๑๒ เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นนครหลวง ทรงกำหนดเขตเมืองหลวงทั้งสองฝั่งให้แมน้ำ
เจ้าพระยาอยู่ในเขตกลางเมืองหลวง วัดโพธาราม ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาจึงอยู่ในเขตพระมหานคร และได้ถูก
ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงมีพระราชาคณะครองตั้งแต่นั้นมา สันนิษฐานว่า อาจเนื่องมาจากเป็นช่วงที่กำลังกอบกู้เอกราช บันทึก
ความรู้ทางการแพทย์จึงถูกละเลยไป ไม่ปรากฏหลักฐานให้เห็นชัดเจน การที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาเป็นเหตุให้ตำรับตำราต่างๆ
โดยเฉพาะทางการแพทย์ที่เก็บรักษาไว้ถูกทำลายเสียหายเพราะถูกไฟเผาหรือกระจัดกระจายขาดหายไป ประกอบกับในสงคราม
ย่อมมีผู้คนล้มตายซึ่งเข้าใจว่าคงจะมีแพทย์ทั้งที่เป็นหมอหลวง หมอราษฎร์รวมอยู่ด้วย แต่เชื่อว่าความรู้ทางการแพทย์ยังคงมีใช้
กันอยู่โดยเฉพาะใช้ในการดูแลผู้บาดเจ็บจากสงคราม อย่างไรก็ตามในสมัยรัชกาลนี้มีเจ้านายชั้นสูง ๒ พระองค์ผู้มีความเชี่ยวชาญ
ทางการแพทย์แผนไทย คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ และสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราช และยังได้รับราชการต่อมาในราชสำนักพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก่อนที่จะทรงถูกสำเร็จโทษใน
สมัยรัชกาลที่ ๒


(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )

(ต่อตอนที่ 26 การแพทย์ไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์)