ตอนที่ 29 การแพทย์แผนไทย ในสมัยรัชกาลที่ 2 (ตอน 2)
โดย สันติสุข โสภณสิริ
สมัยรัชกาลที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗)
วิธีการถ่ายทอดวิชาแพทย์เริ่มจากให้รู้จักต้นไม้ใบยาและสรรพคุณสมุนไพรก่อน แล้วจึงศึกษาพระคัมภีร์แพทย์ หลังจากนั้น
จึงฝึกหัดดูอาการไข้กับครู เพื่อแนะนำเทียบรายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการ
แพทย์ทางเลือก ๓๒ อาการ จนคุ้นเคยจึงออกรักษาตามลำพัง ในการเรียนไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ไม่มีการวัดผลที่เป็น
มาตรฐาน และไม่มีประกาศนียบัตรหรือเครื่องหมายใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสำเร็จการศึกษาหรือรับรองความสามารถ แต่ในกลุ่ม
หมอหลวง สิ่งที่พอจะใช้วัดความสามารถของหมอคือ บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน เช่น พระยา พระ หลวง ขุน เป็นต้น
หมอหลวงและหมอเชลยศักดิ์ มีความแตกต่างกัน ดังนี้
หมอหลวง คือ หมอที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ รับราชการสังกัดอยู่ในกรมราชแพทย์ จึงเป็นข้าราชการที่มีศักดินา ได้รับ
พระราชทานเบี้ยหวัดเงินปี ทำหน้าที่รักษาพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ บุคคลต่างๆในราชสำนักและรักษาตามพระบรม
ราชโองการของพระมหากษัตริย์ การศึกษาของหมอหลวงจะเป็นระบบและน่าเชื่อถือ เพราะผูู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นหมอหลวงนั้น
ต้องได้รับการฝึกฝนตั้งแต่เด็กๆ ให้คุ้นเคยกับการรักษาพยาบาล แล้วจะได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ช่วยแพทย์ติดตามหมอหลวงไป ทำการ
รักษาจนมีความชำนาญในการตรวจ ผสมยา เมื่อโตขึ้นก็มีความรู้ พร้อมที่จะเข้ารับราชการได้ เมื่อมีตำแหน่งว่างในกรมหมอหลวง
ก็จะได้รับการบรรจุเข้าทำงานทันที หมอหลวงจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าหมอเชลยศักดิ์หลายอย่าง เช่น สามารถเก็บสมุนไพร
ตามบ้านราษฎรหรือในที่ใดๆก็ได้ โดยมีกระบองแดง เป็นสัญลักษณ์แสดง ถ้าสมุนไพรชนิดใดขาดแคลนและหมอหลวงไม่สามารถ
หาได้ในบริเวณเมืองหลวง ก็จะมีสารตราในนามเจ้าพระยาจักรีออกไปยังหัวเมืองให้เก็บสมุนไพรต่างๆมายังโรงพระโอสถ ในด้านรายได้ของหมอหลวงมักจะได้รับเงินเป็นจำนวนมากจากการไปรักษาเจ้านายหรือข้าราชการตามพระบรมราชโองการ ถึงแม้ว่า
โดยธรรมเนียมประเพณีแล้ว หมอหลวงที่พระมหากษัตริย์พระราชทานไปรักษานั้นจะไม่คิดค่ารักษาพยาบาล แต่คนไข้ ก็มักจะ
จ่ายให้หมอเป็นการแสดงความขอบคุณเสมอ
หมอเชลยศักดิ์ (หมอราษฎร์) คือหมอที่ไม่ได้รับราชการ ประกอบอาชีพอิสระ ฝึกฝนเล่าเรียนจากบรรพบุรุษที่เป็นหมออยู่ก่อน หรือศึกษาจากตำราแล้วทดลองฝึกหัดจนมีความชำนาญ โดยส่วนใหญ่แล้้วจะใช้ทฤษฎีแพทย์แผนไทยเช่นเดียวกับหมอหลวง หมอเชลยศักดิ์ส่วนใหญ่จะเป็นหมอที่มีชื่อเสียงและมีลูกศิษย์มากทั้งฆราวาสและพระสงฆ์ โดยทั่วไปหมอเชลยศักดิ์มักจะเป็นผู้ชาย
(ยกเว้นหมอตำแยที่มักจะเป็นหญิงสูงอายุ) ทำหน้าที่ทั้งหมอและหมอยา กล่าวคือ เมื่อตรวจไข้และวินิจฉัยโรคแล้วหมอคนเดียวกันนี้
จะทำการปรุงยารักษาด้วย โดยหมอจะมีล่วมยา ๑ ใบ ภายในบรรจุซองยาสมุนไพรชนิดต่างๆ เมื่อตกลงจะรักษาคนไข้รายใดก็ให้เจ้า
ของไข้ตั้งขวัญข้าว ซึ่งประกอบไปด้วยข้าวสาร กล้วย หมากพลูและเงินติดเทียนหกสลึง สิ่งเหล่านี้เรียกว่า ค่าขวัญข้าว ใช้สำหรับเป็น
ค่าบูชาครูแพทย์ (ชีวกโกมารภัจจ์) หมออาจจะให้เจ้าของไข้เก็บเครื่องยาสมุนไพร ส่วนเครื่องเทศ หมอเรียกเงินซื้อบ้าง ถ้าไข้ไม่
สำคัญ คนไข้หายเร็ว เจ้าของไข้ก็สูงขวัญข้าว ทั้งหมดให้หมอและให้ค่ายาอีก ๓ บาท แต่ถ้าหมอรักษาไม่หาย หมอจะไม่ได้อะไรเลย
ไม่ว่าจะลงทุนไปแล้วเท่าไรก็ตาม ในรายที่คนไข้มีฐานะดี ผู้เป็นเจ้าของไข้เกรงว่าหมอจะทำการตรวจรักษาไม่เต็มที่ ก็จะตั้งรางวัลไว้สูง หากหมอคนใดรักษาหายได้ก็จะได้รับรางวัลที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ในกรณีที่หมอมีชื่อเสียง บางครั้งอาจมีการเรียกเก็บเงินก่อนทำการรักษา
พยาบาล เรียกว่า ค่าเปิดล่วมยา หมอเชลยศักดิ์มีรายได้จากค่าตอบแทนในการรักษาพยาบาลเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่แต่ละ
ท้องถิ่น และไม่แน่เสมอไปว่าจะได้เงิน ในกฎหมายสมัยก่อน บัญญัติให้หมอสามารถเรียกสิ่งอื่นเป็นค่ารักษาได้นอกจากเงิน ในกรณี
ที่คนไข้ไม่มีเงิน ดังนั้น รายได้ของหมอเชลยศักดิ์จึงไม่แน่นอน มักจะประกอบอาชีพอื่นไปด้วย หมอเชลยศักดิ์นี้มีโอกาสเลื่อนเป็น
หมอหลวงได้ ในกรณีที่แสดงความสามารถเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระมหากษัตริย์ก็จะโปรดฯ ให้เข้ารับราชการในกรมหมอหลวง หรือมีโอกาสเข้ารับราชการเป็นหมอประจำเมือง ในกรมหมอหลวงของเมืองใหญ่ๆ เช่น เมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น หมอเชลยศักดิ์
มีทั้งที่เป็นฆราวาสและพระสงฆ์
(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )
(ต่อตอนที่ 30 การแพทย์ไทย ในสมัยรัชกาลที่ 3