สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ ๓๑ การแพทย์แผนไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๓ (ตอน ๒)




















                                                                                                                                                โดย สันติสุข โสภณสิริ


สมัยรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)

     การแพทย์แผนตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีสุขภาพของราษฎรสยามทั่วไปก็เมื่อ เข้าสู่ต้นรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตน
โกสินทร์แล้ว และเมื่อเกิดไข้ทรพิษระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในสยามและทั่วโลกเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๓๘๑ พระบาทสมเด็จพระ
นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งให้หมอหลวงทั้งปวงไปหัด ปลูกทรพิษจากหมอบรัดเลย์ เพื่อจะได้ออกไปปลูกให้ราษฎรทั่วไป
ทั้งภายในพระนครและตามหัวเมืองต่างๆ ปรากฏว่าสามารถช่วยชีวิตราษฎรไว้ได้เป็นอันมาก
     ความจริงวิธีการป้องกันไข้ทรพิษที่หมอบรัดเลย์นำเข้ามานั้นได้กระทำ ๒ วิธีคือ ๑. วิธีปลูกฝี (Vaccination) หมายถึง
การใช้พันธุ์หนองฝีโค (Vaccine Virus) ปลูกลงในผิวหนังของมนุษย์ ๒. วิธีปลูกทรพิษ (Inoculation) หมายถึง การนำเอา
หนองจากผู้ป่วย ด้วยไข้ทรพิษ (Variola Virus) ไปปลูกลงในผิวหนังของผู้อื่น วิธีหลังเป็นวิธีที่ เสี่ยงอันตราย แต่เนื่องจาก
ในคราวที่ไข้ทรพิษระบาดนั้น พันธุ์หนองฝีโคที่สั่งเข้ามาจากสหรัฐอเมริกามีปริมาณไม่เพียงพอ หมอบรัดเลย์และหมอหลวง
ไทยจึงต้องใช้วิธีปลูกทรพิษแทน ภายหลังรัฐบาลสยามได้ออกกฎหมายห้ามมิให้ผู้ใดทำการปลูกทรพิษเป็นอันขาด ตาม
พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ พ.ศ. ๒๔๖๘ มาตรา ๑๔ ยิ่งไปกว่านั้นรัชกาลที่ ๓ ยังทรงโปรดให้พิมพ์หมายประกาศ
เป็นใบปลิว ๑๐,๐๐๐ ฉบับ แจกจ่ายชักชวนชาวพระนครให้ปลูกฝี กล่าวได้ว่าใบปลิวโฆษณาป้องกันโรคระบาดฉบับนี้เองเป็น
สิ่งพิมพ์ฉบับแรกในประวัติศาสตร์การพิมพ์ของรัฐบาลไทย
     อย่างไรก็ตามในรัชกาลที่ ๓ ท่านทรงให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกครั้งเมื่อวันพุธ เดือน ๑๐ แรม ๑๐ ค่ำ
ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๗๕ เพื่อเป็นการสนองพระเดชพระคุณ เชิดชูพระเกียรติสมเด็จพระไอยกาธิราช (รัชกาลที่ ๑) ให้ยืนยงคง
อยู่ชั่วกาลนาน นอกจากนี้ยังมีพระราชประสงค์ที่จะรวบรวมบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ มารวมกันเพื่อถ่ายทอด
วิชาความรู้ไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง และที่สำคัญ คือ พระราชประสงค์จะฟื้นฟูทางด้านจริยธรรมของประชาชนและเป็นแหล่งรวบรวม
ความรู้ต่างๆของไทย การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ ห่างจากครั้งแรกประมาณ ๔๐ ปี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมเลือก
สรรตำรับตำราต่างๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นวิสามัญศึกษามาตรวจ ตราแก้ไขใช้ของเดิมบ้างหรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้นๆ
ให้แต่งขึ้นใหม่บ้าง แล้วโปรดฯให้จารึกแผ่นศิลาประดับไว้ในบริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีรูปเขียนและรูปปั้นประกอบ
ตำรานั้นๆ เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูลชั้นใดๆ มีใจรักวิชาอย่างใดก็สามารถเล่าเรียนได้จากศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ

(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )

(ต่อตอนที่ ๓๒ การแพทย์แผนไทย ใน สมัยรัชกาลที่ ๓ (ตอนที่ ๓)