สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243 Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com
แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.
พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ ๓๓ การแพทย์แผนไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๓ (ตอน ๔)
โดย สันติสุข โสภณสิริ
สมัยรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)
ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ที่รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕
(และในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณณสิริ) ได้ขอให้โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนฯ จัดพิมพ์ไว้
เพื่อรักษาต้นฉบับเดิมมิให้สูญหาย) เนื้อหาของตำรายาจะกล่าวถึงอาการของโรคก่อน มีการแก้ด้วยวิธีไสยศาสตร์ และมี
ยาแก้ซึ่งมักมีหลายขนานสำหรับใช้เป็นลำดับรองลงมา เมื่อยาขนานแรกๆไม่ได้ผล ยาแต่ละขนานประกอบด้วยยาสมุนไพร
มีทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุหลาย ชนิดตั้งแต่ ๑๐ กว่าชนิดขึ้นไป ไปจนถึง ๕๐ ชนิด แต่ไม่กล่าวถึงสรรพคุณของยาสมุนไพร
แต่ละชนิดเดี่ยวๆ
รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯให้สืบเสาะหาตำรายาที่ศักดิ์สิทธิ์ ตำราลักษณะ โรคทั้งปวงตามพระราชาคณะ ข้าราชการ
ตลอดจนราษฎรมาจารึกในแผ่นศิลา โดยผู้ถวายตำรายาต้องสาบานว่า ยาขนานนั้นตนได้มามีสรรพคุณดี แล้วให้พระยาบำเรอ
ราชแพทย์ตรวจอีกทีก่อนนำไปจารึก
กล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นเสมือนมหาวิทยาลัยเปิดทางด้านการแพทย์แผนไทยแห่งแรกของ
ประเทศไทย โดยประสงค์ให้ความรู้วิชาแพทย์แผนไทยเผยแพร่สู่สาธารณชนในวงกว้าง
(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )
(ต่อตอนที่ ๓๔ การแพทย์แผนไทย ใน สมัยรัชกาลที่ ๓ (ตอนที่ ๕)