สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243 Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com
แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.
พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ ๓๘ การแพทย์แผนไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๔ (ตอน ๓)
โดย สันติสุข โสภณสิริ
สมัยรัชกาลที่ ๔
ในสมัยรัชการที่ ๔ ราษฎรโดยทั่วไปยังนิยมใช้การแพทย์แผนไทยในการรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ พบหลักฐาน
ทางเอกสารในสมัยรัชกาลที่ ๔ ว่ามีข้าราชการในฝ่ายพระราชวังบวร สถานมงคลของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
หรือ ข้าราชการฝ่ายวังหน้า ที่เกี่ยวกับการแพทย์ ได้แก่ ข้าราชการใน(กรมหมอ กรมหมอยาซ้ายขวาเล่าไปในต่อที่แล้ว)
ยังมี กรมหมอนวด กรมหมอกุมาร กรมหมอยาตา หมอฝรั่ง ดังนี้
๓. กรมหมอนวด
พระวรวงศ์รักษา จางวาง
หลวงสัมพาหแพทย์ ปลัดจางวาง
หลวงสัมพาหภักดี ปลัดจางวาง
หลวงประสาทวิจิตร เจ้ากรมซ้าย
หลวงประสิทธิหัตถา เจ้ากรมขวา
ขุนวาตาพินาศ ปลัดกรมขวา
ขุนศรีสัมพาห ปลัดกรมซ้าย
๔. กรมหมอกุมาร
พระกุมารานุรักษ์ จางวาง
หลวงสิทธิกุมาร เจ้ากรม
๕. กรมหมอยาตา
ขุนประสาทไนยเนตร เจ้ากรม
ขุนวิเศษไนยนา เจ้ากรม
หมื่นแผ่วไนยนา ปลัดกรมขวา
หมื่นเทวาภิเนตร ปลัดกรมซ้าย
๖. หมอฝรั่งซ้ายขวา
ขุนชำนาญระงับพิศม์ เจ้ากรมขวา
ขุนสนิทเวทยา เจ้ากรมซ้าย
หมื่นเมทรีวิทยา ปลัดกรมขวา
หมื่นชำนาญเมทรีเวทยา ปลัดกรมซ้าย
จะเห็นได้ว่าในรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีการตั้งหมอฝรั่งเป็นหมอหลวงในราชสำนักมีบรรดาศักดิ์อย่างเป็นทางการเหมือนสมัย
กรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง
(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )
(ต่อตอนที่ ๓๙ การแพทย์แผนไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ (ตอน ๑) )