สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ ๓๙ การแพทย์แผนไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ (ตอน ๑)




















                                                                                                                                     
                                                                                                                                        โดย สันติสุข โสภณสิริ




     ในรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีการตั้งหมอฝรั่งเป็นหมอหลวงในราชสำนักมี บรรดาศักดิ์อย่างเป็นทางการเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา
     ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเห็นว่า บรรดาคัมภีร์แพทย์แผนโบราณและตำรายาพื้นบ้านของไทย ซึ่งได้ศึกษาเล่าเรียนคัดลอกต่อกันมาด้วยความเพียรพยายาม
ในหมู่แพทย์และผู้ที่สนใจ มีคุณประโยชน์ยวดยิ่ง แต่ต้นฉบับตำราและพระตำราหลวงที่ได้สร้างขึ้นและได้ใช้สืบทอดกันมา
ยาวนานนั้นสูญหายไปบ้าง พระองค์ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำนุบำรุงพระคำภีร์แพทย์ให้ปรากฏไว้เป็นหลักฐาน และ
เผยแพร่ต่อไปในภายภาคหน้า

     ในพุทธศักราช ๒๔๑๓ หลังจากเสด็จขึ้นครองราชยสมบัติ เพียง ๒ ปีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมคณะ
แพทย์หลวง จัดหารวบรวมคัมภีร์แพทย์ในที่ต่างๆ มาตรวจสอบชำระให้ตรงกันกับฉบับดั้งเดิม ในการนี้ได้ทรงแต่งตั้ง
คณะกรรมการแพทย์หลวงขึ้นมาชุดหนึ่ง ประกอบด้วย “พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่น ภูบดีราชหฤทัย” จางวางแพทย์ ร่วมกับ
“พระยาอมรศาสตร์ประสิทธิ์ศิลป์ หลวงกุมารเพช หลวงกุมารแพทย์ ขุนกุมารประเสริฐ ขุนกุมารประสิทธิ์” และ “ขุนเทพ กุมาร”
เป็นต้น ให้ช่วยกันตรวจสอบชำระคัมภีร์แพทย์ทั้งมวลให้ถูกต้องมีหลักฐาน จดบันทึกไว้ในหอหลวง เพื่อให้ใช้บำบัดโรคภัย
ไข้เจ็บแก่มหาชน คณะกรรมการชุดนี้ได้ ตรวจสอบชำระ เห็นถูกถ้วนดีแล้ว จึงส่งมอบให้กรมพระอาลักษณ์ ในการนี้
“พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ” จางวางกรมพระอาลักษณ์ “หลวงสาร ประเสริฐ” และ “ขุนนิมิตร์อักษร”
ชำระตรวจอักษรถูกต้องแล้วจัดกรมหมื่น กรมราชบัณฑิตเขียนอักษรขอมเส้นทอง กรมพระอาลักษณ์ชุบอักษรไทยเส้นหรดาล
นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อเป็น ส่วนพระราชกุศล เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศและเป็นสมบัติของแผ่นดินสืบไป
..
คัมภีร์ที่ชำระแล้วเหล่านี้ รวมเรียกว่า “เวชศาสตร์ฉบับหลวง” ซึ่งเป็นที่มาของตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ที่เป็นตำราหลัก ในการศึกษาเล่าเรียนของแผนไทยในยุคต่อมากระทั่งถึงปัจจุบัน
..
(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน “รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)” )
(ต่อตอนที่ ๔๐ การแพทย์แผนไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ (ตอนที่ ๒)