สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 6  แพทย์ตั้งแต่สมัยโบราณ


                                                                                                                          โดย สันติสุข โสภณสิริ

        ในสมัยพุทธกาล ผูู้ทำหน้าที่แพทย์ดูแลภิกษุ และภิกษุณีผูู้อาพาธก็คือภิกษุและ ภิกษุณีนั่นเอง แต่ก็มีแพทย์
ผู้เป็นคฤหัสถ์ที่ทำหน้าที่ถวายการรักษาพระภิกษุสงฆ์ในพระอารามโดยไม่มีค่าตอบแทน ได้แก่ หมอชีวกโกมารภัจจ์
และ หมออากาสโคตตะ แห่งกรุงราชคฤห์ แพทย์คฤหัสถ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยพุทธกาลคือ หมอชีวกโกมารภัจจ์
ผู้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าและภิกษุรูปอื่น ทั้งยังถวายป่ามะม่วงของตนในกรุงราชคฤห์ เพื่อใช้เป็นวัด
ชื่อว่า "ชีวการาม"
         กล่าวกันว่าการให้การรักษาโดยไม่คิดค่าตอบแทนแก่พระภิกษุสงฆ์ของหมอชีวก ทำให้มีผู้มาบวชเป็นจำนวนมาก
เพื่อมุ่งหวังจะได้รับการบริการบำบัดรักษาแบบให้เปล่า ชื่อเสียงของหมอชีวกเป็นที่เลื่องลือออกไปอย่างกว้างขวาง
         เรื่องราวการบำบัดรักษาของหมอชีวกนั้นแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานกระบวนทัศน์ สองแบบในการเยียวยารักษา
กล่าวคือ การแพทย์เชิงประจักษ์-เหตุผลของพุทธศาสนา และการแพทย์แบบไสยศาสตร์-ศาสนา ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์
พุทธศาสนาของอินเดีย ซึ่งถูกแปลจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษาจีน ภาษาทิเบต
ภาษาคอตานิส (Khotanese) ซึ่งเป็นภาษาอิหร่านตอนกลาง แสดงให้เห็นขอบเขตของเวชปฏิบัติที่ชาวพุทธถ่ายทอด
องค์ความรู้การแพทย์ โดยการเผยแพร่พุทธศาสนาจากอินเดีย ไปผสมผสานกับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศทั้งในภูมิภาค
เอเชียใต้ เอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
         ในราวพุทธศตวรรษที่ ๓ มีหลักฐานว่าหมอพระและพุทธอารามมีการขยายการดูแลทางการแพทย์ออกไปสู่
สาธารณชนนอกเหนือไปจากการดูแลรักษาเฉพาะหมู่สงฆ์เท่านั้น





(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )

(ต่อตอนที่ 7  ศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช )