สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243 Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com
แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.
พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 8 สมณฑูตและการเดินทางของแพทย์สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
โดย สันติสุข โสภณสิริ
ภายหลังการสังคายนาพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงส่งพระสมณทูตออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา
นิกายเถรวาทไปยังที่ต่างๆ ๙ สาย สายหนึ่งมี พระโสณะและพระอุตตระ เป็นพระมหาเถระไปยังดินแดนสุวรรณภูมิซึ่งสันนิษฐานว่า คือบริเวณที่เป็นเมืองนครปฐมในปัจจุบัน การแพทย์แบบพุทธจากอินเดีย จึงเริ่มเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิโดยการนำเข้ามาของพระ
ภิกษุในพระพุทธศาสนา ซึ่งส่วนหนึ่งมีความรู้ด้านการแพทย์เป็นอย่างดี ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ หลวงจีนฟาเหียน นักบวชผู้จาริก
แสวงบุญไปอินเดียได้บันทึกว่า ณ เมืองปาฏลีบุตร วัดจะจัดตั้งอาคารบริจาคทานและยาซึ่งคนผู้ยากไร้คนพิการทุพพลภาพ และคนเจ็บป่วยสามารถเข้าพักพิงและได้รับการช่วยเหลือทุกอย่าง มีแพทย์ตรวจโรคให้ พวกเขาเหล่านี้จะได้รับอาหาร ยาสมุนไพร
และยาต้มที่จำเป็น และได้รับความสะดวกสบายในการรักษาพยาบาล จนกระทั่งหายดีแล้วจึงออกไป
อาคารพยาบาลดังกล่าวคืออาโรคยวิหารของพุทธอารามในนครปาฏลีบุตร ตัวอาคารก่อด้วยอิฐเผา มีรอยจารึกว่า
ศรีอาโรคยวิหารภิกษุสังฆสัย แปลว่า "ภายใน อาโรคยวิหารซึ่งเป็นมงคลของสงฆ์" นอกจากนี้ ณ พุทธสถานในประเทศเนปาล
ใกล้กรุงกาฐมัณฑุ มีจารึกอายุราว พุทธศตวรรษที่ ๑๒ กล่าวถึง การพระราชทานที่ดินของกษัตริย์เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของอาโรคยศาลา และที่วัดในเมืองสารนาถใกล้กรุงพาราณสี ได้มีการขุดพบ โกร่ง และ ลูกโกร่ง สำหรับบดยา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้
อาคารของ วัดในอินเดียเป็นสถานพยาบาล และรักษาผู้ป่วยในพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕
(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )
(ต่อตอนที่ 9 พุทธศาสนาและการแพทย์เข้าสู่สุวรรณภูมิ )
ขอบคุณภาพ www.soclaimon.wordpress.com