สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 9  พุทธศาสนาและการแพทย์เข้าสู่สุวรรณภูมิ


                                                                                                                       โดย สันติสุข โสภณสิริ

       อิทธิพลของการแพทย์เชิงประจักษ์นิยม-เหตุผลของพุทธศาสนาและการแพทย์แบบไสยศาสตร์-ศาสนาของฮินดู
ในยุคพระเวทตอนต้นได้แพร่มายังดินแดนสุวรรณภูมิแล้วก่อรูปเป็นการแพทย์ในราชสำนักหรือการแพทย์ของหลวงของ
ประเทศไทยนับตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย ซึ่งต่อมาคือการแพทย์แผนไทยในปัจจุบัน ร่องรอยของอิทธิพลดังกล่าวยังปรากฏ
อย่างชัดเจน ในปฐมบทของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่เป็นคัมภีร์ประธานของแพทย์แผนไทยแเพราะเป็นคัมภีร์   ที่ว่าด้วย
ศาสตร์แห่งความรักในผู้ป่วยและรักในความรู้ทางแพทย์ ดังที่กล่าวไว้ในบทไหว้ครูและจริยธรรมของผู้เป็นแพทย์

       ในบทไหว้ครูนั้น ผู้เป็นแพทย์แผนไทยต้องบูชาพระรัตนตรัยของพุทธศาสนาเป็นอันดับแรก ต่อไปก็ไหว้พระฤๅษีทั้ง
๘ องค์ ซึ่งคาบเกี่ยวระหว่างนักพรตอิสระกับนักบวชฮินดู ผู็เป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์แพทย์แผนไทยบางคัมภีร์ เช่น คัมภีร์
ตักกศิลา วิชาฤๅษี ดัดตน และความรู้สมุนไพรดั้งเดิม เช่น สมุนไพรในตำรับเบญจกูล เป็นต้น ลำดับต่อมา จึงไหว้เทพยดา
ชั้นสูงของฮินดู ได้แก่ พระอิศวรและพระพรหม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้ประทานว่านยาแก่โลก ลำดับต่อมาจึงไหว้ครูโกมารภัจจ์
ผู้เป็นบรมครูแพทย์แผนไทย และสุดท้ายจึงไหว้ครูผู้สั่งสอนศิษย์ในปัจจุบัน

       ที่สำคัญคือจุดหมายสูงสุดของการเป็นแพทย์แผนไทยคือ "ล่วงลุนิพพานดล สำเร็จกิจประสิทธิพร" อันเป็นคุณธรรม
ที่เป็นปเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา
      


(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )

(ต่อตอนที่ 10 )