สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243 Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com
แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.
พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 12 การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ยุคก่อนกรุงสุโขทัย (2)
โดย สันติสุข โสภณสิริ
สมัยพระนางจามเทวี (พ.ศ. ๑๒๐๔-๑๒๑๑) จากตำนานพระธาตุลำปางหลวง กล่าวว่า ฤๅษีวาสุเทพกับ สุกกทันตฤๅษีได้สร้าง
นครหริภุญชัย (คือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน) ขึ้น แล้วเห็นพ้องต้องกันว่าผู้ชายจะครองนครหริภุญชัยได้ไม่นาน ควรให้ผู้หญิงมาครอง
จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญพระนางจามเทวี (พระธิดาของเจ้าผู้ครองนครละโว้ปุระ หรือจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน) จากเมืองละโว้
ให้มาครองนครหริภุญชัยในราว พ.ศ. ๑๒๐๔ พระนางจามเทวีได้ขอพระราชทานสิ่งที่เป็นมงคลจากพระราชบิดาไปด้วย เพื่อนำไป ประกอบกิจให้เป็นประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกราชสำนัก ดังนี้
(๑) พระมหาเถรที่ทรงปิฎกประมาณ ๕๐๐ องค์
(๒) หมู่ปะขาวทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเบญจศีล ๕๐๐ คน
(๓) บัณฑิต ๕๐๐ คน
(๔) หมู่ช่างสลัก ๕๐๐ คน
(๕) ช่างแก้วแหวน ๕๐๐ คน
(๖) พ่อเลี้ยง ๕๐๐ คน
(๗) แม่เลี้ยง ๕๐๐ คน
(๘) หมู่หมอโหรา ๕๐๐ คน
(๙) หมอยา ๕๐๐ คน
(๑๐) ช่างเงิน ๕๐๐ คน
(๑๑) ช่างทอง ๕๐๐ คน
(๑๒) ช่างเหล็ก ๕๐๐ คน
(๑๓) ช่างเขียน ๕๐๐ คน
(๑๔) หมู่ช่างทั้งหลายต่างๆ ๕๐๐ คน
(๑๕) หมู่พ่อเวียกทั้งหลาย ๕๐๐ คน (คนทำงานฝ่ายการก่อสร้าง)
แสดงว่าหมอยา (ลำดับที่ ๙) เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญมากกลุ่มหนึ่งในสังคมยุคโบราณ
(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )
(ต่อตอนที่ 13 การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนไทย ยุคก่อนกรุงสุโขทัย (3) )