ขอเชิญสมัครเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการวิชาการนวดไทยสำหรับแม่ก่อนและหลังคลอด
(การศึกษาต่อเนื่อง สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในสถานพยาบาลของรัฐ)
ตามนโยบายการสนับสนุนการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และต่อมาในปี พ.ศ. 2553 สปสช. ได้เพิ่มการให้บริการฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอด พบมีแม่หลังคลอดเข้ามารับบริการตั้งแต่ปี 2553 - 2559 จำนวน 164,991 คน รวมใช้บริการ จำนวน 602,954 ครั้ง )
เพื่อเป็นการส่งเสริมและเตรียมความพร้อมของแม่ก่อนคลอดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งจำเป็นสำหรับแม่ในการ
คลอดอย่างปกติ และสุขภาพของทารกในครรภ์ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้มารดามีบุตรที่แข็งแรง
เพิ่มขึ้น ดังนั้น กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา มูลนิธิสุขภาพไทย และมูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย จึงร่วมกันจัดให้มีการศึกษาต่อเนื่อง เกี่ยวกับการนวดไทยสำหรับแม่ก่อนและหลังคลอด (โดยเน้นในช่วงก่อนคลอด) ให้กับผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย (ด้านการผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย หรือเวชกรรมไทย) และผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานพยาบาล เพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถ และทักษะ ในการดูแลสุขภาพแม่ก่อนและหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย การดูแลสุขภาพแม่ที่ตั้งครรภ์ ต้องให้บริการ ทั้งสร้างเสริม และฟื้นฟูสุขภาพแม่ก่อนและหลังคลอดอย่างมีคุณภาพ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ วิชาการนวดไทยสำหรับแม่ก่อนและหลังคลอด จัดอบรมเป็นเวลา 2 วัน จะเป็นการเพิ่มคุณภาพ ในการให้บริการการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทย และเตรียมความพร้อมในการสนับสนุน สิทธิประโยชน์ ในการดูแลสุขภาพแม่ก่อนคลอดด้วยการแพทย์แผนไทยของ สปสช. ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เสริมความรู้ ความสามารถและทักษะการดูแลแม่ก่อนและหลังคลอดตามแบบแผนการแพทย์แผนไทย
2. สร้างเสริมสุขภาพของแม่ก่อนคลอดด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใส รวมทั้งบำบัด
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อปวดขา เป็นตะคริว เนื่องจากการตั้งครรภ์ด้วยการนวดไทย
3. เตรียมสภาพของเต้านมให้มีน้ำนมเพื่อให้ทารกดูดนมได้ง่าย
4. ฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย
กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยด้านการผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย หรือเวชกรรมไทย (ต้องมีความรู้และประสบการณ์ด้านการนวดแม่หลังคลอด) (ตามมาตรา 12 (2) (ก) แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2556) ที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานพยาบาลต่างๆ ในภาครัฐ
2. ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (ตามมาตรา 12 (2) (ข) แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2556) ที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานพยาบาลต่างๆ ในภาครัฐ
เนื้อหาวิชาการอบรม ประกอบด้วย
แบบแผนการดูแลแม่ก่อนคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย (บรรยาย 2 ชม.)
1.1 คัมภีร์ปฐมจินดา (ครรภ์วารกำเนิด ครรภ์รักษา ครรภ์วิปลาส ครรภ์ปริมณฑล ครรภ์ประสูติ)
1.2 แบบแผนการนวดแม่ก่อนและหลังคลอดด้วยการนวดไทย (จุดนวดและแนวนวด ท่านวด
ท่าของหมอและแม่ผู้รับบริการ การเตรียมเต้านมและการให้นมลูก)
การฝึกปฏิบัติ : การดูแลแม่ก่อนคลอดด้วยการนวดไทยและการประเมินผล แบ่งเป็น 4 ฐาน (8 ชม.)
ฐานที่ 1 การนวด ท่านอนหงาย ท่านอนตะแคง ท่านั่งหลังพิง
ฐานที่ 2 เทคนิคการนวด การประคบ การนวดประคบ เพื่อแก้อาการต่างๆ เช่น ตะคริวน่อง คลายเครียด
เส้นเลือดขอดที่ข้อพับขา เข่า ปัสสาวะกะปริดกะปรอย
ฐานที่ 3 การเตรียมและเทคนิคการดูแลเต้านมก่อนคลอด การเตรียมการนวดประคบหน้าอก แนะนำการปฏิบัติตัว ท่าบริหาร
ฐานที่ 4 การกล่อมท้อง/แต่งท้อง/โกยท้อง (เพี่อให้เดินสะดวก ลดการปัสสาวะบ่อย และคลอดง่าย)
การฝึกปฏิบัติ : ฟื้นฟูการดูแลแม่หลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย (1 ชม.45 นาที)
(1) การเข้าตะเกียบ (เพื่อให้ข้อต่อสะโพกขยับเข้าที่)
(2) การพันผ้าหน้าท้อง (เพื่อขับน้ำคาวปลา และกระชับมดลูก)
สิทธิประโยชน์ในการให้บริการการแพทย์แผนไทย และการดูแลแม่ก่อนคลอด ของ สปสช.
(บรรยาย 30 นาที) โดย ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
ระยะเวลาและสถานที่อบรม ( อบรมโดยไม่ถือเป็นวันลา )
จัดการอบรม รุ่นละ 80 คน
@ รุ่นที่ 1/2560 วันที่ 30 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2560
ณ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารสวนกีฬา กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี
ค่าใช้จ่ายการอบรม
ค่าลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม ท่านละ 4,000 บาท รุ่นละ 80 คน
(เป็นค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมและเอกสารประกอบการอบรมตำรา หนังสือ วัสดุและอุปกรณ์ ค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง)
ตำรา หนังสือ สื่อ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม มีดังนี้
1. ตำรา หนังสือ ได้แก่
- คู่มือสร้างเสริมฟื้นฟูสุขภาพแม่ก่อนและหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย และซีดีรอม
- ตำราภูมิปัญญาการผดุงครรภ์ไทย
- ขันธ์ 5 วิถีสำหรับหมอแนวพุทธ
- ทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วย
- ระบบสุขภาพ
- สร้างเสริมสุขภาพวิถีไท
2. วัสดุและอุปกรณ์ แต่ละคู่มีอุปกรณ์ เบาะ 1 ลูก, หมอน 2 ใบ, ลูกประคบ 3 ลูก (ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่)
- เบาะ, หมอน
- ลูกประคบ
- สมุนไพร
- หม้อนึ่ง/ซึ้ง/หม้อหุงข้าว
- เต้านมเทียม
- ผ้าพันหน้าท้อง
การประเมินผล
- มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
- ประเมินผลภาคปฏิบัติ โดยมีคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
ร่วมจัดโดย
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ (มพก.)
มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.)
มูลนิธิสุขภาพไทย (สภท.)
มูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย (มพท.)