สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

   เสวนาสุขภาพวิถีไท
ชีวิตปกติ เพราะธาตุปรกติ
ตอนที่ ๑๐ บทสรุปคำว่าธาตุในบริบทที่ต่างกัน





















                                                                                                                                                โดย ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์

         
     คุณวีรพงษ์ เกรียงสินยศ ผู้ดำเนินรายการเสวนา กล่าวสรุปเนื้อหาบางส่วนที่อาจารย์ธีรเดชพูดมาในช่วงแรก
     หากมองในจุดที่อาจจะสร้างความเข้าใจที่ไม่ตรงกันอย่างในภาษาไทยกับหลักปรัชญาหรือหลักการแพทย์ของอินเดีย เพราะ
คำศัพท์ด้วย คือเราไม่ได้เอาความหมายของรากศัพท์มา คำแรกที่อาจจะเป็นคำศัพท์ที่เราจะเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือความ
เข้าใจแตกต่างกัน คือ คำว่า "ธาตุ" อย่างที่ อาจารย์ธีรเดช พูดว่าเราใช้คำว่าธาตุในหลายความหมายตามบริบทที่ต่างกัน ในขณะที่
อายุรเวทจะมีคำที่เจาะจงลงไป เช่น คำว่าธาตุในความหมายของธาตุสี่ของไทย อายุรเวทจะใช้คำว่า ปัญจมหาภูตะ แต่ไทยเรายัง
ใช้คำว่าธาตุในกรณีอื่นๆ อีกด้วย นี่ยังไม่ได้พูดถึงธาตุที่เราอธิบายแบบธาตุทั้งสี่กับธาตุที่กินแก้โรค ประเด็นนี้ผมคิดว่าในวงการการ
แพทย์แผนไทยอาจต้องคิดอยู่เหมือนกัน เพราะเราใช้ศัพท์ในหลายเงื่อนไขหลายบริบทหลายศาสตร์ความรู้ในการอธิบายโดยที่ใช้
ศัพท์คำเดียวกัน เราไม่มีที่มาที่ไป เรื่องนี้เราจะได้ข้อสังเกตที่สำคัญ
     เช่นเดียวกันคำศัพท์ที่ทางอายุรเวทเขาเรียก สัปตะธาตุ เวลาเขาเรียกเขาจะมีคำศัพท์กำกับไว้เลย แต่ของไทยเราจะมีหลายมิติมาก อ.ธีรเดชยังพูดถึงตรีโทษว่าไม่มีตัวตนมันจับต้องไม่ได้ แต่เป็นการทำหน้าที่หรือเป็นกลไกที่จะมีการปรับและไม่อยู่นิ่งตลอดเวลา   
ศาสตร์อายุรเวทตั้งต้นจากมุมมองว่าทำอย่างไรให้ชีวิตปกติและยืนยาวนานที่สุด  แต่ยามที่มันเริ่มจะไม่ปกติก็จะเริ่มมีวิธีเข้ามาเยียวยา
แก้ไข เพื่อกลับไปข้อที่ ๑ คือ ปกติและยืนยาวที่สุด แต่ยืนยาวอย่างไรก็ยังอยู่ในหลักอนิจจัง ทุกชีวิตก็ต้องแตกสลายตายไป อ.ธีรเดช
พูดว่าเงื่อนไขของการมีชีวิตที่ดีและอายุยืน ทางอายุรเวทเขาแบ่งวิธีปฏิบัติเป็นหลายอย่าง เช่น (๑) ตั้งแต่ตื่นนอนตั้งแต่เช้าจนกระทั่ง
กลับไปนอนอีกทีตอนกลางคืนควรจะดำเนินชีวิตอย่างไร  (๒) พฤติกรรมที่เราดำเนินชีวิตอยู่ มันมีหลายอย่างซึ่งอาจจะเกี่ยวโยงกับชีวิต
ปกติ การดำเนินชีวิต ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเราเพื่อให้ธาตุเราสมดุล

     คำว่า ธาตุ ทางอายุรเวทเรียกว่า ธาตุ รากศัพท์ธาตุ ทำให้เกิดการค้ำจุน เรานึกถึงคุณลักษณะสิ่งของต่างๆ มีลักษณะอย่างนี้ เราจะ
ไม่เข้าใจว่ารากศัพท์คำว่า "ธาตุ" คือ สิ่งที่มีจะค้ำจุน แต่สิ่งที่ค้ำจุนดังนั้นมันก็มีโอกาสที่จะไม่ค้ำจุน แต่ถ้าเราเข้าใจด้วยศัพท์ภาษาไทย ไม้เป็นธาตุของแข็งเราจะไปคิดโดยกรอบภาษาของเรา แต่ถ้าเราเข้าใจรากศัพท์แบบอายุรเวทเราอาจจะเข้าใจการเยียวยามากขึ้นก็ได้
   

(เรียบเรียงจากการเสวนาสุขภาพวิถีไท เรื่อง ชีวิตปกติ เพราะธาตุปรกติ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมชั้น ๒ อาคารสวนกีฬา กระทรวงสาธารณสุข)


( ต่อตอนที่ ๑๑ การถาม-ตอบ-ขยายความ ในวงเสวนา )