สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

   เสวนาสุขภาพวิถีไท
ชีวิตปกติ เพราะธาตุปรกติ
ตอนที่ ๑๑ ถาม-ตอบ และการขยายความในวงเสวนา(๑)





















                                                                                                                                                โดย ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์

         
อาจารย์อุษา กลิ่นหอม :    ที่อาจารย์ธีรเดชพูดถึงคำว่า ปัญจมหาภูตะ หมายถึง ดิน น้ำ ไฟ อากาศ และลม แสดงว่าภูตะ
หมายถึงธาตุใช่ไหม ดิฉันหมายถึงว่าในรากศัพท์เดิมไม่มีคำว่าธาตุต่อจากคำว่าดิน น้ำ ฯลฯ

อาจารย์ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์  :  ผมเข้าใจว่าเหตุผลที่ในภาษาไทยเวลาใช้คำว่าธาตุดิน ธาตุน้ำ ฯลฯ อาจเป็นเพราะถ้าเรา
ใช้คำว่าดินหรือน้ำเฉยๆ บางคนอาจจะนึกถึงก้อนดินที่เป็น soil หรือถ้าพูดว่าน้ำ บางคนอาจจะนึกถึงน้ำแบบ water การเติมคำว่า
ธาตุไว้ข้างหน้า น่าจะมีเจตนาที่จะสื่อว่าเราไม่ได้หมายถึงกำลังพูดถึงดินที่เป็นก้อนดิน แต่ถ้าในทางอายุรเวท เวลาพูดถึงมหาภูตะ
แต่ละอย่างจะใช้คำที่หมายถึงมหาภูตะนั้นๆ ไปเลยโดยไม่มีคำว่า มหาภูตะ ต่อท้ายครับ เช่น ปฤถวี, ชละ ฯลฯ
     ในกรณีของการแพทย์แผนไทย ในหนังสือเกี่ยวกับอายุรเวท(ภาษาอังกฤษ)เล่มหนึ่งซึ่งอ้างถึงคัมภีร์วิสุทธิมรรคยกข้อความ
ในคัมภีร์ วิสุทธิมรรคที่กล่าวถึงคุณสมบัติของปฤถวี ซึ่งใช้คำภาษาอังกฤษว่า earth element โดยบอกว่าปฤถวีหรือ earth element
มีคุณสมบัติแข็ง เพราะฉะนั้นเวลาใช้คำว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ ผมคิดว่าเราต้องการสื่อว่ากำลังพูดถึงความ
เป็นธาตุหรือสภาวะของธาตุ ไม่ได้พูดถึงรูปธรรมของธาตุแต่ละตัว เช่น ก้อนดิน น้ำที่เป็น water อะไรทำนองนี้ครับ
     เนื่องจากว่าภาษาไทยได้รับอิทธิพลจากภาษาบาลีสันสกฤต เพราะฉะนั้นคำที่เป็นบาลีเราจะพูดให้ง่ายๆ อย่างไร  ที่อาจารย์
อุษาถาม ผมคิดว่าถ้าจะให้ไม่สับสน เราน่าจะบอกว่าปัญจมหาภูตะ ได้แก่ อากาศ วายุ เตชะ อาโป ปฤถวี แต่ก็อีกนั่นแหละ
ถ้าเอ่ยคำเหล่านี้ให้คนทั่วๆไปฟัง อาจไม่รู้จัก จึงใช้คำว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ โดยเติมคำว่าธาตุไปข้างหน้า
     อีกประเด็นหนึ่ง อย่างที่ผมเรียนในตอนต้นว่าการแพทย์แผนไทยใช้คำว่าธาตุในความหมายที่หลากหลาย ผมไม่คิดว่าเป็น
เรื่องผิดนะครับ เพราะกระทั่งในอายุรเวทเอง บางครั้งแทนที่จะเรียกว่า tridosa เขาก็ใช้คำว่า tridhatu ก็มี โดยมีคำอธิบายว่าถึงแม้ว่า
สิ่งที่เรียกว่า dosa ซึ่งมีนัยถึงการทำให้เกิดโทษหรือทำให้เกิดความเจ็บป่วย แต่เวลาที่มันทำหน้าที่ตามปกติ มันก็จะค้ำจุนร่างกาย
ถ้ามองในแง่นี้ tridosa และ tridhatu ก็คือสิ่งเดียวกัน
     ผมขอพูดถึงธาตุสี่และธาตุสี่สิบสองในทางแผนไทยอีกหน่อยนะครับ ถ้าถามว่าธาตุสี่สิบสองคืออะไรผมคิดว่ามันก็คือธาตุในร่างกาย ซึ่งมีส่วนประกอบของธาตุสี่ที่หมายถึงดิน น้ำ ไฟ ลม  หรืออาจพูดอีกอย่างว่าธาตุสี่และธาตุสี่สิบสองก็คือสิ่งเดียวกัน แต่อยู่ในคนละมิติ
หมายถึงว่าคำว่าธาตุสี่สิบสอง คือความเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ และเป็นลม ที่ประกอบเป็นร่างกายส่วนต่างๆ เช่น มังสังหรือเนื้อก็คือดิน
น้ำ ไฟ ลม ที่มารวมกันในสัดส่วนและโครงสร้างที่มีความเฉพาะของมันจนกลายเป็นสิ่งที่ถูกเรียกว่ามังสัง เป็นต้น
    

(เรียบเรียงจากการเสวนาสุขภาพวิถีไท เรื่อง ชีวิตปกติ เพราะธาตุปรกติ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมชั้น ๒ อาคารสวนกีฬา กระทรวงสาธารณสุข)


( ต่อตอนที่ ๑๒ ถาม-ตอบ และขยายความในวงเสวนา(๒)