สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

   เสวนาสุขภาพวิถีไท
ชีวิตปกติ เพราะธาตุปรกติ
ตอนที่ ๔ ธาตุ (ปรกติ)





















                                                                                                                                                โดย ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์


          ได้ทำความเข้าใจความรู้พื้นฐานของอายุรเวทอินเดียกันไปแล้ว ๓ ตอนที่ผ่านมา ครั้งนี้จะได้เข้าสู่เรื่อง ธาตุ (ปรกติ) เมื่อ
พูดถึงคำว่า ธาตุ ในทางการแพทย์แผนไทย มีข้อสังเกตว่า ดูจะมีความหมายแตกต่างกันได้หลายอย่างในคนละบริบท เช่น เวลา
พูดถึงธาตุสี่ น่าจะหมายถึงธาตุที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ซึ่งมี ๔ อย่าง ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ  และเรา
ยังใช้คำว่า ธาตุ ในธาตุสี่สิบสอง ซึ่งหมายถึงโครงสร้างที่ประกอบเป็นร่างกาย โดยที่แต่ละธาตุในธาตุสี่สิบสองก็มีส่วนประกอบของ
ธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่
          นอกจากนี้ เรายังใช้คำว่า ธาตุ เวลาพูดถึงสรรพคุณของตำรับยาบางตำรับ เช่น ยาตำรับเบญจกูล มีสรรพคุณบำรุงธาตุ ซึ่ง
ในความเห็นของผม คำว่า "ธาตุ" ที่บอกว่าบำรุงธาตุนี้ น่าจะหมายถึง "ไฟธาตุ" เพราะดูจากตัวยาในตำรับยานี้เป็นยาฤทธิ์ร้อนทั้งสิ้น 
ผมคิดว่าคำว่าบำรุงธาตุที่เป็นสรรพคุณของตำรับเบญจกูล ไม่น่าจะหมายถึงบำรุงร่างกายโดยตรง คือไม่น่าจะไปเสริมสร้างหรือเพิ่มพูน
เนื้อเยื่อของร่างกาย  แต่น่าจะไปแก้ธาตุไฟที่พร่องของร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดการเผาผลาญและดูดซึมสารอาหาร ก่อนจะไป
เสริมสร้างเนื้อเยื่อของร่างกายอีกที
          เวลาเอ่ยคำว่า ธาตุ จึงน่าจะพิจารณาด้วยว่าเรากำลังใช้คำนี้ในบริบทอะไร แต่ประเด็นที่จะกล่าวถึงคือ "ธาตุเจ้าเรือน "
ซึ่งมีข้อสงสัยว่าแท้จริงแล้วในตำราดั้งเดิมในทางการแพทย์แผนไทยมีคำนี้อยู่หรือเปล่า แต่ในหนังสือที่มีการเรียบเรียงเกี่ยวกับการ
กินอาหารตามธาตุเจ้าเรือน ที่บอกว่า "คนธาตุดินให้กิน รสหวาน มัน เค็ม" นั้น ผมมองว่าน่าจะเป็นการตีความมาจากเรื่องของ
"รสยาแก้ตามธาตุ" ในคัมภีร์เดิม ผมเคยคุยกับมิตรสหายในแวดวงการแพทย์แผนไทยมาก่อนหน้านี้ว่า ประเด็นที่ตีความเรื่อง
"รสยาแก้ตามธาตุ" ให้เป็นการกิน(รส) อาหารตามธาตุเจ้าเรือนเช่นนี้น่าจะมาทบทวนกันอย่างจริงจังว่าถูกต้องในทางวิชาการของ
การแพทย์แผนไทยแค่ไหน จึงขอทำความเข้าใจความหมายของคำว่า "ธาตุ" รวมทั้งคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับคำว่า "ธาตุ"
ในทางอายุรเวทในตอนต่อไป



(เรียบเรียงจากการเสวนาสุขภาพวิถีไท เรื่อง ชีวิตปกติ เพราะธาตุปรกติ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมชั้น ๒ อาคารสวนกีฬา กระทรวงสาธารณสุข)


(ต่อตอนที่ ๕ คำว่าธาตุในทางอายุรเวท  )