สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

   เสวนาสุขภาพวิถีไท
ชีวิตปกติ เพราะธาตุปรกติ
ตอนที่ ๗ คำว่าธาตุในทางอายุรเวช (ตอน ๓)





















                                                                                                                                                โดย ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์

         ความเดิมในตอนที่แล้ว สิ่งเรียกว่า ปัญจมหาภูตะ (pancamahabhuta) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหน่วยย่อยขั้นพื้นฐาน ๕ อย่าง
ของสรรพสิ่ง ได้แก่ อากาศธาตุ ลม ไฟ น้ำ และดิน โดยที่แต่ละอย่างมีคุณสมบัติเด่นๆ และหน้าที่หรือผลของมัน กล่าวโดยย่อได้ว่า
          - อากาศ/ akasa (ที่ว่าง) มีคุณสมบัติกลวงและแผ่ซ่าน มีหน้าที่เป็นที่ว่างให้ภูตะ(ซึ่งในทางแผนไทยเรียกว่า ธาตุ (ในความหมายและบริบทขององค์ประกอบหน่วยย่อยขั้นพื้นฐาน)อื่นๆ ดำรงอยู่
          - วายุ/ vayu (ลม) มีคุณสมบัติเบา แห้ง เคลื่อนไหว ฯลฯ มีหน้าที่หรือส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวต่างๆ
          - อัคนิ/agni, เตชะ/teja (ไฟ) มีคุณสมบัติร้อน เบา ทะลุทะลวง ฯลฯ ทำหน้าที่ให้ความร้อน ทำให้เกิดการเผาผลาญ เป็นต้น
          - ชละ/jala, อัป/ap (น้ำ) มีคุณสมบัติเย็น, นุ่ม, เหลว ฯลฯ ทำหน้าที่ในการหล่อลื่น, นำพา
          - ปฤถวี/prthvi (ดิน) มีคุณสมบัติแข็ง, มั่นคง, เฉื่อย ฯลฯ มีหน้าที่ทำให้เกิดความมั่นคงและก่อรูปเป็นโครงสร้าง

          แต่ก็มีคำอธิบายในอีกมุมหนึ่งว่า ปัญจมหาภูตะคือสภาวะที่แตกต่างกันของสิ่งต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระยะห่างของอนุภาคย่อยๆ
คือสภาวะที่เป็นที่ว่าง แก๊ส ความร้อน สภาวะที่เหลว(ของเหลว) และสภาวะที่แข็ง(ของแข็ง) โดยที่ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
สิ่งเดียวกันอาจเปลี่ยนสภาพจากความเป็นน้ำหรือของเหลวกลายเป็นของแข็งซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพของธาตุดินก็เป็นได้
ยกตัวอย่างน้ำในขวดที่ตั้งอยู่ข้างหน้า โดยธรรมชาติแล้วมีสภาวะเป็นของเหลว แต่ถ้าเราเอาไปแช่ในตู้เย็น มันจะเปลี่ยนสถานะจากของ
เหลวเป็นของแข็ง ในแง่นี้อาจพูดได้ว่าบางครั้งอัปภูตะหรือที่เรียกในทางแผนไทยว่าธาตุน้ำก็สามารถกลายเป็นปฤถวีหรือธาตุดินได้ เพราะฉะนั้นเขาก็จะบอกว่าเวลามองอย่าไปมองว่าดินคือดิน น้ำคือน้ำ จริงๆ มันเป็นสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปมาได้ เพียงแต่ว่าโดยธรรมชาติ มันจะมีสภาวะของมันที่ควรจะเป็นอย่างนั้น บางอย่างมีความเย็นบางอย่างจับมามีความร้อน
          ผมเคยตั้งคำถามถึงที่มาของทฤษฎีที่เรียกว่าปัญจมหาภูตะหรือที่เรียกในภาษาไทยว่าธาตุทั้งห้า ในทำนองว่า ทำไมจึงต้องเป็น
ห้าธาตุไม่เป็นตัวเลขอื่น เช่น ๖ หรือ ๗ ตอนหลังผมตอบกับตัวเองว่า น่าจะเป็นไปได้ว่าที่เป็นทฤษฎีห้าธาตุก็เพราะมาจากการที่เรารับรู้
โลกภายนอกผ่านทาง ๕ ช่องทางหรือผ่านอินทรีย์ทั้งห้านั่นเอง คือเรารับรู้โลกภายนอกผ่านการมองเห็นโดยอาศัยตา ผ่านการได้ยิน
เสียงโดยอาศัยหู ผ่านการดมกลิ่นโดยใช้จมูก ผ่านการรับรู้รสด้วยลิ้น และรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวและลักษณะพื้นผิวของวัตถุผ่านการ
สัมผัสทางผิวหนัง
          ในมุมมองของอายุรเวท ร่างกายเราก็ประกอบด้วยปัญจมหาภูตะเช่นกัน คือเรามีดิน มีน้ำ มีลม มีไฟ และมีอากาศธาตุหรือช่อง
ว่างอยูภายในร่างกาย ดังที่มีคำกล่าวในทางอายุรเวทว่า อะไรที่มีอยู่ในโลกและธรรมชาติ ก็มีอยู่ในตัวเรา เราเป็นรูปเป็นร่างได้ก็เพราะ
มีความเป็นธาตุดิน เรามีน้ำลายและมีเลือดที่ไหลไปในร่างกาย ซึ่งแสดงถึงความเป็นน้ำ ร่างกายมีความอบอุ่นแสดงถึงความร้อนของไฟ
เราขยับปากเพื่อพูด มีการหายใจเข้า-ออก มีการเคลื่อนหรือบีบตัวของลำไส้ เหล่านี้คือการทำงานของลม นอกจากนี้ ในร่างกายก็
ประกอบด้วยที่ว่างมากมาย ถึงกับมีคำกล่าวว่าร่างกายไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากที่ว่างอันยิ่งใหญ่(มหาสโรตะ/ mahasrota; สโรตะ/srota
แปลว่า ช่องว่างหรือที่ว่าง)

    

(เรียบเรียงจากการเสวนาสุขภาพวิถีไท เรื่อง ชีวิตปกติ เพราะธาตุปรกติ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมชั้น ๒ อาคารสวนกีฬา กระทรวงสาธารณสุข)


( ต่อตอนที่ ๘ คำว่าธาตุในทางอายุรเวท(ตอน ๔)  )