สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

   เสวนาสุขภาพวิถีไท
ชีวิตปกติ เพราะธาตุปรกติ
ตอนที่ ๙ ธาตุในทางอายุรเวท (ตอน ๕ ธาตุสี่สิบสอง)





















                                                                                                                                                โดย ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์

         
        ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงปัญจมหาภูตะคือหน่วยย่อยขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นองค์ประกอบของสรรพสิ่งรวมทั้งร่างกายเรา เพียงแต่เมื่อ
พูดในบริบทของร่างกาย เราใช้คำว่า ธาตุ(ทั้งเจ็ด-ในทางอายุรเวท) ซึ่งโดยตัวมันเองก็ประกอบด้วยปัญจมหาภูตะด้วย    
        ส่วนตรีโทษคือกลไกหรือพลัง(ที่เกิดจากการผสมกันของปัญจมหาภูตะ)ขับเคลื่อนร่างกายใน 3 ลักษณะ
        และไหนๆ ก็พูดธาตุแล้ว ผมขออนุญาตพูดถึงธาตุสี่สิบสองในทางการแพทย์แผนไทยในความเข้าใจจากมุมมองของผม
สักเล็กน้อยนะครับ ผมคิดว่าถึงแม้ในทางการแพทย์แผนไทยจะบอกว่าร่างกายประกอบด้วยธาตุดิน ๒๐, ธาตุน้ำ ๑๒, ธาตุไฟ ๔
และธาตุลม ๖  แต่ผมมองว่าสิ่งที่ถูกจัดเป็นธาตุดินในร่างกาย ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้มีเพียงธาตุดินอย่างเดียว  ตัวอย่างเช่น
ทั้งกระดูกและมังสังถูกจัดเป็นธาตุดิน ถ้าทั้งสองอย่างนี้มีแต่ธาตุดินเหมือนกันทั้งคู่ เนื้อก็น่าจะมีความแข็งเท่าหรือเหมือนกับกระดูกสิครับ การที่มังสังหรือเนื้อมีความอ่อนนุ่มยืดหยุ่นกว่ากระดูก แสดงว่าน่าจะต้องมีปัจจัยอย่างอื่นที่ทำให้เนื้อไม่คงรูปหรือแข็งเหมือนกับกระดูก
การที่บอกว่าร่างกายที่เป็นธาตุดินมี ๒๐ อย่างนั้น ผมคิดว่า ๒๐ อย่างที่ว่านั้น ไม่ได้มีเฉพาะธาตุดินล้วนๆ ถ้าเป็นในทางอายุรเวท เวลาพูด
ถึง "มหาภูตะ" แต่ละอย่าง เช่น ปฤถวี(ดิน) หรือชละ(น้ำ) ฯลฯ เขาถือว่าในปฤถวีหรือดินจะมีภูตะอื่นๆ อยู่ด้วย คือในดินก็มีน้ำ ไฟ ลม
และที่ว่างอยู่ด้วย เพียงแต่เมื่อเทียบกับดินแล้ว ภูตะอีกสี่ตัวที่เหลือจะมีเปอร์เซนต์น้อยกว่า หรือแม้แต่ที่ว่างหรืออากาศ ในความเป็นจริง
ไม่มีที่ว่างโดยสมบูรณ์แต่อย่างใด กระทั่งในจักรวาลก็ยังมีอนุภาคอยู่เต็มไปหมด เพียงแต่อยู่อย่างกระจัดกระจายและห่างกันมากเท่านั้น
ในทำนองเดียวกัน ร่างกายส่วนที่มีธาตุดินที่บอกว่ามี ๒๐ ร่างกาย ๒๐ ส่วนที่ว่าก็มีธาตุอีกสามธาตุอยู่ด้วย หรือในกรณีของมังสัง
(เนื้อหรือกล้ามเนื้อ) อาจกล่าวได้ว่าคือธาตุดินที่มีธาตุน้ำผสมอยู่ จึงทำให้กล้ามเนื้อสามารถยืดหดได้ ซึ่งอาจเปรียบว่าคือการไหลของ
น้ำในดิน สำหรับกระดูกนั้นอาจถือว่ามีความเป็นดินมากที่สุด เพราะเป็นโครงสร้างที่คงรูปหรือแข็งที่สุด (ซึ่งเป็นคุณสมบัติของธาตุดิน
คือมีความคงรูป) แต่ในความเป็นจริงแล้วกระดูกมีลักษณะที่เป็นรูพรุนอยู่ด้วย ซึ่งแสดงว่าในกระดูกก็มีธาตุลมอยู่ ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ผมคิดว่าเพราะถ้ากระดูกมีลักษณะที่ตันและแน่น เราคงเดินหรือเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนเนื่องจากร่างกายจะหนักมาก ธรรมชาติจึงสร้างให้ กระดูกต้องมีธาตุลมแทรกอยู่ในธาตุดิน
        กล่าวโดยสรุป ผมมองว่าในกรณีของธาตุสี่สิบสองที่จำแนกตามธาตุสี่อย่างที่กล่าวมานั้น แท้จริงแล้ว ร่างกายทุกส่วนล้วนแต่มีธาตุ
ทั้งสี่(หรือมีครบทั้งปัญจมหาภูตะ - ในทางอายุรเวท) เพียงแต่ธาตุสี่สิบสองที่ถูกจัดว่าเป็นธาตุดิน(ในธาตุสี่) มีเปอร์เซนต์ของธาตุดินมาก
กว่าธาตุที่เหลืออีกสาม ธาตุสี่สิบสองที่จัดเป็นธาตุสี่อื่นๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน หรือถ้าพิจารณาร่างกายในภาพรวม ทุกคนย่อม
ประกอบด้วย (สิ่งที่เรียกว่า)ปัญจมหาภูตะ โดยที่แต่ละคนจะมีสัดส่วนของปัญจมหาภูตะแตกต่างกันไป เช่น ในห้องนี้สังเกตว่าบางคนมี
รูปร่างท้วม บางคนผอม บางคนข้อใหญ่ บางคนใจเย็น เหตุผลที่พวกเราแต่ละคนแตกต่างกัน ก็เพราะเรามีสัดส่วนของปัญจมหาภูตะหรือ
ธาตุทั้งห้าแตกต่างกัน

(เรียบเรียงจากการเสวนาสุขภาพวิถีไท เรื่อง ชีวิตปกติ เพราะธาตุปรกติ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมชั้น ๒ อาคารสวนกีฬา กระทรวงสาธารณสุข)


( ต่อตอนที่ ๑๐ บทสรุปคำว่าธาตุในบริบทที่ต่างกัน  )