สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : aorchaweewan26@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ว่าด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ
                              

                                                                                                                     โดย สันติสุข โสภณสิริ
ตอนที่ 4

     ที่พูดถึง ขันธ์ทั้ง 5 แล้ว ในพระไตรปิฎกมีคำอธิบายถึงรูปขันธ์และลักษณะของธาตุ หลักทั้ง ๔ ไว้ดังนี้

     "ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปทานขันธ์ คือ รูปเป็นไฉน คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ก็มหาภูติรูป ๔ เป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ" (มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก)
     ดังนั้น ในมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก ยังได้กล่าวถึง ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ไว้โดยละเอียดดังนี้
     ๑. ปฐวีธาตุ คือธาตุดิน ๑๙ ประการ "ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็ปฐวี ธาตุภายใน
เป็นไฉน ได้แก่ สิ่งที่แค่นแข็งกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ
ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีใน ตน อาศัยตน
นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นปฐวี ธาตุทั้งนั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบ ตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่านั่นไม่ใช่ของ เรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วอาจจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิต คลายกำหนัด
ปฐวีธาตุได้"
     ๒. อาโปธาตุ คือธาตุน้ำ ๑๒ ประการ "ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อาโป ธาตุภายใน
เป็นไฉน ได้้แก่สิ่งที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน
ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งสิ้น พึงเห็น อาโปธาตุด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่
ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุได้" เนื่องจากธาตุดิน
และธาตุน้ำ เป็นรูปธรรมที่แลเห็นได้ง่าย ชาวพุทธจึงกำหนดธาตุ ดินทั้ง ๑๙ (ภายหลังเติมมัตถเก มัตถลุงค์ คือ มันสมอง รวมเป็น ๒๐)
และธาตุน้ำ ๑๒ รวมเป็น ๓๒ เรียกว่า อาการ ๓๒ หรือทวัตติงสาการ (มาจากทวัตติงส คือ ๓๒ + อาการ) ดังปรากฏในบทสวดมนต์
ทำวัตรของชาวพุทธ ชื่อว่า ทวัตติงสา การปาฐะ รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการ
แพทย์ทางเลือก
     ๓. เตโชธาตุ คือธาตุไฟ ๔ ประการ "ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือเตโชธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็ เตโชธาตุภายในเป็น
ไฉนได้แก่ สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกาย
ให้กระวนกระวาย และ ธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม่สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น
ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่าเตโชธาตุ ภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งสิ้น
พึงเห็นเตโชธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อ
หน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้"
     ๔. วาโยธาตุ คือธาตุลม ๖ ประการ "ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือวาโยธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็วาโย ธาตุภายในเป็น
ไฉน ได้แก่ สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือลมพัดขึ้น เบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป
ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่า
วาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอกนี้แล เป็นวาโยธาตุ ทั้งสิ้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลาย กำหนัดวาโยธาตุได้"
     เรื่องขันธ์ ๕ และธาตุ ๔ ของพุทธศาสนาดังกล่าว ได้กลายเป็นต้นธารของ ทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ดังที่ปรากฏในหลายคัมภีร์
ที่สำคัญ ได้แก่ พระคัมภีร์ สมุฏฐานวินิจฉัย คัมภีร์ฉันทศาสตร์ พระคัมภีร์โรคนิทาน พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์
และพระคัมภีร์ธาตุบรรจบ เป็นต้น
     ประเด็นสำคัญที่แฝงอยู่ในทฤษฎีขันธ์ ๕ และธาตุ ๔ ของพระพุทธศาสนาก็คือ เรื่องท่าทีที่ไม่เข้าไปติดยึดด้วยอุปทาน หากให้
พิจารณาตามหลักแห่งไตรลักษณ์ หรือ สามัญลักษณะ ซึ่งเป็นลักษณะตามธรรมดาของสรรพสิ่งในโลก ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะทรง
สอนเรื่องนี้หรือไม่ก็ตาม สามัญลักษณะได้แก่ อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์กาย ทุกข์ใจ ภาวะที่ทนได้ยาก
อนัตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน .

       

(ต่อตอนที่ 5 ว่าด้วยการพัฒนาการแพทย์แผนไทยตั้งแต่สมัยโบราณ)

(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )




                                                                  
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

ขอบคุณภาพ http://www.bloggang.com