ที่ตั้ง ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
ประวัติวัด
วัดสันห้างเสือเดิมเป็นพื้นที่วัดเก่ารกร้างไม่ได้มีการบูรณะมานานมาก กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ค่อยๆพัฒนามาเป็นวัด
ปัจจุบันวัดมีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๘ ไร่ มีพระอธิการสมพร อายุ ๔๘ ปี เป็นเจ้าอาวาสวัด
ประวัติวัดกับการดำเนินการแพทย์พื้นบ้าน
พระอธิการสมพร บวชตั้งแต่ ปีพ.ศ.๒๕๓๒ หลังจากบวชได้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่ในสายพระธรรมยุต ออกเดินธุดงค์
กว่า ๑๘ ปีไปทั่วทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว พม่า อินเดีย รวมไปถึงศึกษาตัวยาสมุนไพร ตำรับตำรายา
คาถาอาคมต่างๆ จากครูบาอาจารย์ทั้งที่เป็นพระ เป็นฆราวาส ผู้เฒ่าผู้แก่ โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการรักษาที่ได้มาจากครูบา
อาจารย์ที่อยู่ฝั่งพม่ารวมทั้งหมอพื้นบ้านที่ได้รู้จักมา เมื่อมาอยู่วัดสันห้างเสือยังไม่ได้เริ่มรักษาคนไข้คนป่วยแต่อย่างใด
จนกระทั่งปีพ.ศ.๒๕๕๖ ได้ฟังพระอาจารย์วัดป่าเจริญธรรม คลอง ๑๑ พูดว่า "กินข้าวชาวบ้าน แล้วตอบแทบอะไรชาวบ้านหรือยัง
ชาวบ้านป่วยใจช่วยได้ไหม ชาวบ้านป่วยกายช่วยได้ไหม เราอาศัยพระศาสนา ให้พระศาสนาได้อาศัยเราบ้างได้ไหม ให้เราเป็น
สะพานบุญกับชาวบ้าน" หลังจากได้ฟังคำพูดดังกล่าวจากพระอาจารย์ที่วัดป่าเจริญธรรมแล้ว พระอธิการสมพรจึงได้ฉุกคิด จำคำ
พูดดังกล่าวตลอด หลังจากนั้นจึงเริ่มต้นใช้ความรู้ในการดูแลชาวบ้านทั้งทางใจและกาย
เริ่มจากเมื่อมีคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านมาวัดและบ่นให้ฟังถึงอาการร้อนออกตามเนื้อตามตัวเป็นแผลพุพองไปหาหมอที่โรงพยา
บาลแล้วก็ยังไม่หาย พระอธิการสมพรจึงได้ให้ขี้ผึ้งที่ได้จากจังหวัดบุรีรัมย์ไปทา ปรากฏว่าอาการดีขึ้น ภายหลังเมื่อชาวบ้านมาวัด
ก็ให้ยาสมุนไพรไปบ้าง โดยใช้ความรู้ที่มีของตนเองรักษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเลือดลม เมื่อรักษาหายก็ทำให้มีการบอก
ปากต่อปากกันไป ขณะเดียวกันท่านเองเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องทางไสยศาสตร์ด้วยจึงมีชาวบ้านนิยมมาปรึกษาหารือ ทำพิธีต่างๆ
ทั้งสะเดาะเคราะห์ รับโชค ต่อชะตา เพื่อให้ชีวิตดีขึ้น
แนวคิดพุทธศาสนากับสุขภาพ
จากการสัมภาษณ์พระอธิการสมพร ท่านเห็นว่าพุทธศาสตร์กับไสยศาสตร์ เป็นหลักธรรมอันเดียวกัน มาคู่กัน เพราะคนต้องการ
ที่พึ่งทางใจ ต้องการทำให้ใจสบาย ใจเป็นสุข ดังนั้นจึงพึ่งพาทุกอย่างเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีหลักยึด ให้จิตบริสุทธิ์
จิตผ่องใส การใช้ไสยศาสตร์ในทางดีก็ทำให้คนที่ไร้ที่พึ่งนั้นชีวิตได้มีหลักยึด โดยยึดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา
รักษากายและดูแลใจไปด้วย ท่านบอกถึงสิ่งที่ทำว่า "เป็นการโผดคน" หมายถึงการช่วยเหลือคนที่เป็นทุกข์ให้พ้นจากทุกข์
ถือเป็นการทำทานอย่างหนึ่ง
หลักสำคัญที่พระอธิการสมพรบอกว่าจำเป็นต้องยึดถือ คือ
๑. การกตัญญูกตเวทิตา ต่อพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายรวมไปถึงญาติโยมชาวบ้านในชุมชนที่ถวายข้าว ทำนุบำรุงวัด
๒. ทาน การรักษาช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน ยากจน ไร้ที่พึ่งถือเป็นการให้ทานประการหนึ่งตามหลักของพระพุทธศาสนา
๓. รักษาศีล
พระอธิการสมพรมองว่า การรักษาผู้ป่วยของท่านเป็นการรักษาแบบใช้ความรู้ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลากหลายสาขาสมุนไพร
คาถา พิธีกรรม เหล่านี้ล้วนเป็นองค์รวมในการเยียวคนป่วย ไม่ได้เป็นเรื่องของการแพทย์แผนไทยโดยตรง ท่านไม่ได้ทำเรื่องแพทย์
แผนไทยโดยตรง แต่ท่านเป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอด ใช้ประโยชน์จากความรู้พื้นบ้าน ความรู้เกี่ยวกับโรค เกี่ยวกับสมุนไพรที่ได้รับ
จากครูบาอาจารย์ พ่อหมอ แม่หมอมาใช้รักษาคน