สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : aorchaweewan26@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


    ยาต้ม อาจเป็นวิธีการปรุงยาที่เก่าแก่ดั้งเดิมแท้ เพราะเมื่อมนุษย์รู้จักจุดไฟใช้ต้มน้ำทำอาหารได้ พืชผักสมุนไพรก็น่าจะ
ถูกทดลองจับใส่หม้อต้ม นำมาปรุงเป็นยารักษาโรค หรือแม้แต่เครื่องดื่มเก่าแก่เช่นใบชา ก็ด้วยการลองเด็ดใบมาต้มน้ำชง
น้ำแล้วดื่ม ปรากฎว่ารสชาติอร่อย ดื่มแล้วกระปี้กระเปร่า ชาชงร้อนๆ จึงแพร่หลายมาจนทุกวันนี้
    แต่ยาต้มก็พกภาพลักษณ์โบราณขนานแท้ติดตัวมาด้วย เอ่ยถึงหรือต้มให้ดื่มก็จะเพิ่มอายุกลายเป็น สว. สูงวัย แต่ถ้า
พินิจกันดีๆ เครื่องดื่มร้อนเช่นยาต้มหากแต่งตัวให้ร่วมสมัยสักนิด คัดสรรตำรับยาที่ต้มแล้วไม่ขื่นขมนัก และชูประเด็น
สรรพคุณเด่นที่เป็นที่ยอมรับ ยาต้ม คือ วิถีสุขภาพแบบไทยๆ ที่อินเทรนด์ได้
    เวลานี้หมู่บ้านหลายแห่งทั่วไทยทั้ง 4 ภาค ที่รณรงค์ลดการดื่มเหล้าสุราในงานบุญเทศกาลหรืองานศพ ก็ใช้ภูมิปัญญา
ยาต้มของแต่ละท้องถิ่นทดแทนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ดี สูตรยาต้มจึงมีมากมายหลายสิบตำรับ แล้วแต่พันธุ์ไม้ที่มีใน
ท้องถิ่นนั้นๆ
    แต่รถเข็นยาต้มที่มูลนิธิสุขภาพไทย นำมาเข็นรณรงค์ในศูนย์ประชุมระดับชาติ เมื่องานมหกรรมอาหารและสุขภาพ
วิถีไทนั้น ออกแบบ ตั้งชื่อ"รส ยาต้ม" และนำเอาตำรับยาดั้งเดิมของอีสานที่ได้รับการยกระดับชั้นให้เป็น รายการบัญชี
ยาหลักแห่งชาติไปแล้ว หมายถึงว่า ตำรับยานี้ถ้าเดินเข้าโรงพยาบาลที่เปิดบริการการแพทย์แผนไทย ท่านสามารถขอ
ยาตำรับนี้กลับมาบ้านกินแก้อาการร่วมสมัย คือ แก้ปวดเมื่อยร่างกาย
    ตำรับยาที่ประกาศอย่างเป็นทางการ ยาต้มยาชงที่ว่านี้คือ ตำรับผสมโคคลาน ได้กล่าวถึง สูตรตำรับ 3 สูตร คือ
    สูตรที่ 1 ใช้ตัวยา เถาโคคลาน โด่ไม่รู้ล้ม ผลมะตูมอ่อน อย่างละ 100 กรัม และใส่ทองพันชั่ง(ทั้งต้น) 25 กรัม
ตัวอยาทั้งหมดเป็นแบบผง นำมาชงครั้ง 1 กรัม กับน้ำ 1 แก้ว วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร
    สูตรที่ 2 ในเนื้อยา 105 กรัม ประกอบด้วย เถาโคคลานหนัก 50 กรัม  ทองพันชั่งหนัก 25 กรัม  โด่ไม่รู้ล้มหนัก
15 กรัม  ผลมะตูมอ่อนหนัก 15 กรัม ยาทั้งหมดนี้นำไปต้มเดือด หรือบางครั้งต้มเคี่ยว คือใส่น้ำสามส่วนต้มเหลือน้ำ
หนึ่งส่วน กินครั้งละ 120 200 มล. วันละ 3 เวลา ก่อนอาหร
    สูตรที่ 3 ในตัวยา ในเนื้อยา 100 กรัม ประกอบด้วย เถาโคคลาน เถาเอ็นอ่อน แก่นฝาง เถาสะค้าน หนักอย่างละ
20 กรัม โด่ไม่รู้ล้ม ทองพันชั่ง(ทั้งต้น) หนักอย่างละ 10 กรัม  นำมาต้มกินแบบสูตรที่ 2 ได้เลย
    แต่ทั้ง 3 สูตรข้างต้นมาจากการพัฒนาสูตรของโรงพยาบาล และนักวิชาการต่างๆ เพื่อประกาศให้เป็นมาตรฐาน
เวลาต้องจ่ายยาให้คนไข้ในโรงพยาบาล จะได้ปรุงได้แม่นยำ แต่ถ้าย้อนไปภูมิปัญญาดั้งเดิมของอีสานนั้น สูตรยา
โคคลานที่ต้มกัน ทำได้ง่าย ด้วยสูตรนี้
   ตำรับดั้งเดิม ใช้สมุนไพรแห้งทั้งหมด คือ เถาโคคลาน 2 ส่วน โด่ไม่รู้ล้ม ทองพันชั่ง อย่างละ 1 ส่วน บางตำรับ
แต่งรสชาติให้ดีก็เติม ผลมะตูมอ่อน(แห้ง) 1 ส่วนลงไปก็ได้ และบางตำรับเน้นสรรพคุณเข้มข้นช่วยบำรุงกำลังและ
แก้ปวดเมื่อยนั้น ก็จะใส่ ม้ากระทืบโรง ลงไป 1 ส่วนด้วย
   ตำรับคลาสิกนี้ นำมาใส่น้ำต้มให้เดือด หากต้มจางๆ รสชาติไม่ขม แล้วแต่งน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ดื่มอุ่นๆ
อร่อย ต้มแนวนี้ทำเป็นน้ำดื่มแจกจ่ายทดแทนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สบายๆ และอาจทดแทนน้ำอัดลม แต่ถ้ามีอาการ
ปวดเมื่อย

                                                                                        ข้อมูลจาก มูลนิธิสุขภาพไทย
   







                                                                  










  
รส ยาต้ม โคคลาน







                                                                  










  
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.