ที่ตั้ง เลขที่ ๒๕๕ หมู่ ๓ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
วัดโพธารามหรือวัดห้วยเกี๋ยง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับการยกฐานะเป็นวัดวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕
วัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๒ งาน ๗๐ ตารางวา ชื่อท้องถิ่นของวัดที่เรียกกันว่า "วัดห้วยเกี๋ยง" เนื่องจากมีลำน้ำไหลผ่านหมู่บ้าน
คนเหนือเรียกลำน้ำว่า "ห้วย" และมีต้นไม้ออกดอกสีขาวขึ้นอยู่ตามสองฝั่งของลำน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า ดอกเกี๋ยงหรือ
ดอกลำเจียก จึงเรียกชื่อวัดและหมู่บ้านตามลำน้ำกับดอกไม้ว่า ห้วยเกี๋ยง เป็นต้นมา ปัจจุบันมีพระครูสุธรรมมานุสิฐ
เป็นเจ้าอาวาส
ประวัติการดำเนินการแพทย์แผนไทย
วัดเริ่มให้บริการนวดตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นการนวดคลายเส้น แก้อาการต่างๆ เหตุที่เปิดนวดในวัด เนื่องจากมารดา
ของพระครูสุธรรมมานุสิฐเจ้าอาวาสวัดป่วยเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตและได้ใช้ภูมิปัญญาการนวดในการรักษามารดาของตนเอง
พระครูจึงให้หมอนวดมาประจำอยู่ที่วัด เปิดนวดรักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตและคนทั่วไปภายในวัด จนทำให้เป็นที่รู้จัก
ของคนทั่วไป และดำเนินการมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปีพ.ศ. ๒๕๔๙ ได้ร่วมมือกับทางสปสช.จังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้เป็นศูนย์
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ ดำเนินการฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต และผู้พิการต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์ในการทำกายภาพ
พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลสันทรายมาดูแลประจำในศูนย์ดังกล่าว ในขณะที่การนวดก็ยังดำเนินควบคู่กันภายในวัด
ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๕๐ พระครูได้จ้างนักแพทย์แผนไทย คือ นางสาวกนิษฐรินทร์ โซ้งเศรณี มาประจำอยู่ที่วัด ทำหน้าที่ดูแล
บริการจัดการศูนย์นวดแผนไทยของวัด จัดระบบพัฒนาเรื่องแพทย์แผนไทยในวัด ปัจจุบันหมอนวดรุ่นเก่าเริ่มชราภาพ มีหมอ
นวดรุ่นใหม่ๆเข้ามาแทนทั้งหมด ๗ คน ปลายปีพ.ศ. ๒๕๕๘ ทางวัดได้สร้างอาคารเล็กๆสำหรับแพทย์แผนไทยให้อยู่ข้าง
อาคารกายภาพบำบัด แบ่งสัดส่วนของวัดกับสถานที่ให้บริการดูแลผู้ป่วย
วัดเปิดเป็นศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต แบ่งเป็น ๒ ส่วนหลักคือ (๑)ส่วนของกายภาพ มีนักกายภาพจากโรงพยาบาล
มาดูแล เชื่อมต่อกับโรงพยาบาล มีบทบาทในการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการโดยตรง (๒)ส่วนของแพทย์แผนไทย วัดจ้าง
โดยตรงไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลดำเนินการให้บริการนวดประคบสมุนไพรให้กับผู้ป่วยทั่วไปเพื่อการผ่อนคลาย และแก้อาการ
นวดแก้อาการ และนวดผ่อนคลาย มีการแช่สมุนไพร รวมทั้งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ประกอบด้วย ลูกประคบ ยาอบ
สมุนไพร น้ำมันนวด ยาหม่อง ห้องนวดเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ นอกจากนี้ยังมี
พระสงฆ์ที่อาพาธมีอาการปวดเมื่อย ไหล่ติด เส้นยึด กระดูกทับเส้นเป็นต้น มารักษาที่ศูนย์สาเหตุที่พระสงฆ์มาใช้บริการ
เนื่องจากสถานที่เหมาะสมอยู่ในบริเวณวัด มีหมอนวดผู้ชายให้บริการ รวมทั้งวัดยังเป็นสถานที่สำหรับบำบัดฟื้นฟูชัดเจน
แนวคิดตามหลักพุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
พระครูสุธรรมมานุสิฐดำเนินการเปิดพื้นที่วัดให้เป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต ภายใต้หลักอิทธิบาท ๔
กล่าวคือ ๑) หลักของความเมตตาต้องการช่วยเหลือผู้อื่นให้มีสุข ๒) หลักกรุณา คือต้องการเห็นผู้ที่มีทุกข์ ให้พ้นทุกข์
๓) มุทิตา ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี พ้นจากทุกข์ภัยไข้เจ็บ และ ๔)หลักอุเบกขา
ทั้งนี้วัดทุกวัดมีหน้าที่หลัก ๘ ประการตามหลักของมหาเถรสมาคมคือ ๑) ทาน ศีล ภาวนา ๒) สัมมาชีพ ๓) กตัญญูกตเวทิตา
ธรรม ๔) สาธารณะสงเคราะห์ ๕)สุขภาวะอนามัย ๖) สันติสุข ๗) ศึกษาสงเคราะห์ ๘) สามัคคีธรรม แต่ละวัดเลือกทำในสิ่งที่
สามารถทำได้ภายใต้ศักยภาพ ไม่จำเป็นต้องทำทั้งหมดสามารถเน้นด้านด้านหนึ่งได้ ซึ่งวัดห้วยเกี๋ยงเน้นมาทางการดูแลสุขภาพ
ของประชาชน ซึ่งถือเป็นการทำภายใต้หลักของทานบารมีช่วยให้คนได้พ้นจากทุกข์ทั้งทางกายและใจ มาวัดนอกจากมารักษากาย
แล้วก็ยังมารักษาใจด้วย ได้ทำบุญได้ความสุขใจ
ทั้งนี้พระครูเห็นว่าคนที่มารักษากับวัดคือเจ้าของวัดมีอิสระในการเดินเข้าออกภายในวัดได้ไม่จำกัด ผู้มาวัดรู้สึกปลอดโปร่งใจ
ผ่อนคลาย บ้างมาทำบุญให้จิตใจสบาย บ้างเจ็บป่วยมารักษาอาการดีขึ้น ทั้งหมดมีผลต่อคนที่มาวัดในทางที่ดี
นางสาวกนิษฐรินทร์ โซ้งเศรณี แพทย์แผนไทยประจำวัดเห็นว่า พื้นที่วัดเป็นสถานที่เหมาะสมพื้นที่ที่รองรับพระสงฆ์ที่อาพาธ
ไม่มีที่ไปรักษา การเปิดในวัดทำให้พระสงฆ์มีพื้นที่ดูแลสุขภาพ ขณะเดียวกันบทบาทของวัดยังสามารถรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ไม่ควรเป็นบทบาทของพระสงฆ์ทำการรักษาเอง วัดควรเป็นเพียงการเปิดพื้นที่ให้ผู้เกี่ยวข้องมาใช้พื้นที่