สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ประวัติการให้บริการแพทย์แผนไทยในวัด

      วัดเคยได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานพระพุทธศาสนาในปี ๒๕๔๒ จัดให้มีโครงการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในวัด
แต่ได้เริ่มจัดทำยาสมุนไพรอย่างจริงจังเมื่อประมาณ ๔-๕ ปีที่ผ่านมา  เพื่อต้องการส่งเสริมให้ญาติโยมได้รู้จักสมุนไพร
และบริโภคยาสมุนไพรกันมากขึ้น โดยได้ร่วมกับเครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำรัตภูมิ นอกจากนี้ในวัดยังมีชมรมเดินไป
คุยไป ซึ่งเป็นชมรมของข้าราชการเกษียณ ซึ่งทางชมรมได้เป็นผู้บุกเบิกในการจัดตั้งสวนสมุนไพรขึ้นในวัด มีการปลูกและ
ดูแลรักษาโดยชมรม ให้การเรียนรู้ รวมทั้งการแปรรูปสมุนไพรเป็นยาสมุนไพร มีการปรุงยารักษาอาการริดสีดวงทวาร  ,
ยาแก้เข็ดแก้เมื่อย เป็นหลัก ในการปรุงยานั้น หากเป็นยาแก้เข็ดแก้เมื่อย ทางวัดจะจัดเครื่องยาเป็นห่อๆ ให้ สำหรับญาติโยม
นำไปปรุงเพื่อรับประทานเองที่บ้าน แต่หากเป็นยาริดสีดวงทวารนั้น จะมีการปรุง อัดเม็ดแจกจ่ายญาติโยม แบ่งกันบริโภค 

บทบาทวัด พุทธศาสนา ต่อการแพทย์แผนไทย

     วัดมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการมีส่วนในการส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย พระครูปรีชา
ศาสนคุณ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน มองว่าแพทย์แผนไทยมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ถือเป็นกิจของสงฆ์ก็ว่าได้ ดังคำกล่าวที่ว่า
"บิณบาตร นุ่งผ้าบังสุกุล อยู่โคนไม้ ฉันน้ำมูตร"  ซึ่งคำว่าน้ำมูตร ก็คือ ยาดองมีส่วนผสมคือ น้ำมูตรเน่า เกลือ และลูกสมอ
พระครูกล่าวว่า ยาดองในลักษณะนี้สามารถฉันเป็นยาได้ เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัย ๔ ที่พระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติได้ไม่ผิดหลักศาสนา
ในส่วนของบทบาทด้านการส่งเสริมแผนไทยนั้น ทางวัดได้มีการให้ความรู้กับญาติโยมที่สนใจ มีกิจกรรมให้การเรียนรู้แบบไม่เป็น
ทางการ มีการรวบรวมพันธุ์สมุนไพรบริเวณวัดและบริเวณคลองภูมีซึ่งอยู่หน้าวัด มีการศึกษาสรรพคุณของตัวยาสมุนไพรแต่ละชนิด   
แนวทางการดำเนินงานต่อไป
        เพื่อสืบสานภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยให้คงอยู่คู่กับชุมชน ทางวัดและคณะทำงาน (เครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำรัตภูมิ) ได้มีการปรึกษาหารือกันในการที่จะอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย โดยมองว่าปัจจุบันภูมิปัญญาดังกล่าวถูกละเลยและ
ขาดการสืบสาน  ทั้งๆที่ในพื้นที่มีองค์ความรู้มากมาย เช่น มีหมอพื้นบ้านหลายสาขา ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ มีตำราและองค์ความรู้
มีทรัพยากรสมุนไพรที่ยังพอหาได้ จึงมองว่า แนวทางต่อไปหากมีโอกาส เครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำรัตภูมิจะร่วมมือกับชุมชน
และท้องถิ่น ในการสังคายนาองค์ความรู้ รวบรวมหมอพื้นบ้านทั้งหมดในพื้นที่ลุ่มน้ำรัตภูมิ  จัดทำหลักสูตรในการสืบทอดองค์ความรู้
ภูมิปัญญา รวบรวมพันธุ์สมุนไพรท้องถิ่นที่มี เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ร่วมกันของคนในพื้นที่ลุ่มน้ำรัตภูมิเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไป





        



  

บทบาทวัดกับการแพทย์แผนไทย 
ตอนที่ ๘ วัดเขาตกน้ำ








                                                                  










  
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

   เรื่องเด่นทุกวันพระ