ที่ตั้ง ตำบลวังฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
ประวัติวัด
วันสวนร่มบารมีเดิมเป็นสำนักสงฆ์ ในปีพ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับประกาศตั้งวัดตามกฎกระทรวงศึกษาธิการและมติมหาเถรสมาคม
โดยมีชื่อว่า วัดสวนร่มบารมี แปลว่า สวนแห่งธรรมที่ร่มรื่นร่มเย็น ใต้ร่มเงาแห่งพระบารมีแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระครู
โฆสิตธรรมสุนทร เป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบันมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษากว่า ๑๘ รูป ได้รับคัดเลือกจากเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม
ให้เป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ตามนโยบายเจ้าคณะภาค ๕ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับการ
อบรมคุณธรรมและจริยธรรมต่างๆ
ปัจจุบันวัดสวนร่มบารมีมีพื้นที่กว่า ๖๐ ไร่ สภาพโดยรวมถูกปล่อยให้เป็นป่า แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น ๓ ส่วนคือ ส่วนที่เป็น
อาคารสถานที่สำหรับอบรมเด็กเยาวชน ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์ ส่วนที่สองเป็นพื้นที่ป่าปล่อยตามธรรมชาติ ปลูกพื้นแซม
ไปเรื่อยๆ ส่วนที่สาม คือพื้นที่เพาะปลูก แปลงเกษตร
นอกจากทำศูนย์บำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแล้ว วัดยังดำเนินการในเรื่องของการส่งเสริมการเกษตรแบบธรรมชาติ ปลูกข้าว
ทำนา ปลูกกล้วย เป็นการทำการเกษตรแบบบันได ๙ ขั้น ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับชาวบ้าน ชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้หันกลับมา
พึ่งพาตนเอง
ประวัติการดำเนินการแพทย์แผนไทย
พระครูโฆสิตธรรมสุนทร มีความรู้เรื่องยาสมุนไพรอยู่ระดับหนึ่งและได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ในวัดจึงกลายเป็นแหล่งปลูก
สมุนไพรที่หลากหลายใช้เพื่อบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มาปฏิบัติธรรมและผู้ติดยาเสพติดร่วมด้วย การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยได้รับการสนับ
สนุนจากหน่วยงานองค์กรต่างๆมากมายทั้ง สำนักงานปราบปรามยาเสพติด ได้รับการประกาศให้เป็นศูนย์สงเคราะห์และฟื้นฟู
วัดสวนร่มบารมี ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องจัดตั้งสถานพยาบาลประเภทสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ พ.ศ. ๒๕๕๕
ตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
พระครูส่งเสริมให้ลูกศิษย์ที่มาปฏิบัติธรรมช่วยเหลือวัดจำนวน ๒ คน ให้ไปเรียนทางด้านแพทย์แผนไทย ขณะนี้ลูกศิษย์
ได้ใบประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมไทย และคนอีกคนได้เรื่องของการนวดทั้งสองคนมาช่วยเรื่องการพัฒนางานด้านแพทย์
แผนไทยในวัดทั้งการทำยา และการนวดที่กำลังจะดำเนินการ พระครูอนุรักษ์สมุนไพรในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและพัฒนาตัวยามา
เรื่อยๆ พร้อมกับเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจเรื่องสมุนไพรโดยเขียนสูตรยาสมุนไพรรักษาโรคตำรับต่างๆ ไว้รอบกำแพงพระ
อุโบสถ เพื่อให้คนที่เข้ามาวัดได้เรียนรู้สามารถนำไปปฏิบัติดูแลตนเองในเบื้องต้นได้ อาทิ ตำรับยาแก้เบาหวาน ความดัน เป็นต้น
แนวคิดตามหลักพระพุทธศาสนา
การดำเนินการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยของวัดแห่งนี้ ทั้งผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ที่มาปฏิบัติธรรมอาศัยแนวคิดจากหลักพระพุทธศาสนา
คือ "หลักของความเมตตา เกื้อหนุนคน เพื่อให้เขาเกิดปัญญา" ตามวิธีการของพระพุทธเจ้า คำว่าทุกข์ให้หันหน้าสู้ ให้รู้จักทุกข์
ผจญกับทุกข์ด้วยปัญญา การช่วยเหลือจึงเน้นไปที่การทำให้เกิดปัญญา จะนำไปสู่การหาทางพ้นทุกข์ด้วยปัญญานั่นเอง
หลักพุทธศาสนาการช่วยเหลือรักษาคนไม่ได้จำกัด แต่กฎสังคมจำกัดบทบาทวัดและพระสงฆ์เอง และเหตุที่ทำเพราะเป็นหน้าที่
ของพระสงฆ์ต้องทำให้ผู้ที่มีทุกข์พ้นจากทุกข์ เป็นที่พึ่งให้กับชาวบ้าน ชุมชน หลวงพ่อย้ำต่อการรักษาผู้ป่วยว่าโดยธรรม โดยวินัย
ไม่มีข้อห้าม แต่จะเป็นพุทธพาณิชย์ไม่ได้
ทิศทางการดำเนินการแพทย์แผนไทยในวัด
หลวงพ่อกำลังดำเนินการสร้างห้องนวดสำหรับพระผู้ใหญ่และพระสงฆ์ที่อาพาธ เพื่อเป็นศูนย์บำบัดฟื้นฟูพระที่อาพาธด้วยการ
นวดแผนไทย และสร้างอาคารรวมให้หมอนวดมาดูแลผู้ป่วยในวัด