ว่าด้วยองค์ประกอบของชีวิต
โดย สันติสุข โสภณสิริ
ตอนที่ 3
พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายในรูปของกระแสที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ อัน สัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน หรือมาประชุมกันเข้า
ตัวตนแท้ๆ ของสิ่งทั้งหลายไม่มี แต่อยู่ในรูป ของ เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ 5 หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม 5 หมวด
ที่ ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติ เรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น หรือ ขันธ์ ยังหมายถึง ส่วนประกอบ
5 อย่าง ที่รวมเข้าเป็นชีวิต ได้แก่
1. รูป ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรม ทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารพลังงานฝ่ายวัตถุ
พร้อมทั้งสมบัติและ พฤติการณ์ต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น
2. เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาท ทั้ง 5 และทางใจ
3. สัญญา ได้แก่ ความกำหนดได้ หมายรู้และจดจำ สิ่งต่างๆได้
4. สังขาร ได้แก่ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งปรุงแต่จิตให้ดี หรือชั่ว หรือเป็นกลาง
ปรุงแต่งความนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม หรือ เรียกว่า เครื่องปรุงของจิต
เครื่องปรุงของความคิด และเครื่องปรุงของกรรม
5. วิญญาณ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง 5 และทางใจ คือการ เห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้
สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ ทางใจ
ขันธ์ 5 นี้ ย่อลงมาเป็น 2 คือ นาม และรูป รูปขันธ์จัดเป็นฝ่ายรูป ส่วนอีก 4 ขันธ์ที่เหลือเป็นฝ่ายนาม ในพระไตรปิฎกมี
คำอธิบายถึงรูปขันธ์และลักษณะของธาตุ หลักทั้ง 4 ไว้ดังนี้
"ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปทานขันธ์ คือ รูปเป็นไฉน คือ มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ก็มหาภูติรูป 4 เป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ" (มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก)
(ต่อตอนที่ 4 ว่าด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ)
(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )